วัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยด้านความเครียดกับคุณภาพชีวิตของนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 และ 5 ศูนย์แพทย์ศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรีวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางและใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย แบบตอบด้วยตนเอง (WHOQOL-BREF-THAI) สำรวจในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 และปีที่ 5ทุกคน จำนวน 32 ราย เป็นเพศชาย 20 ราย และเพศหญิง 12 ราย ทั้งหมดสอบเข้าผ่านทางโครงการ CPIRDและสถานภาพโสดผลการศึกษา นิสิตส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.5) รองลงมามีคุณภาพชีวิตดี(ร้อยละ 37.5) คุณภาพชีวิตไม่สัมพันธ์กับเพศ ปีที่ศึกษา ศาสนาที่นับถือ ภูมิลำเนา อายุ สำหรับปัจจัยความเครียดโดยรวมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวม โดยปัจจัยความเครียดส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมส่วนปัจจัยความเครียดด้านการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตสรุป ปัจจัยความเครียดส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนทักษะการปรับตัวเข้ากับระบบการศึกษาและการค้นหาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งควรทำการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยเพิ่มเติมที่สัมพันธ์และสนับสนุนให้นิสิตแพทย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงติดตามระดับคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องObjectives: To find stressors and other factors that correlated with quality of life of medicalstudents studying in the 4th and 5th clinical year.Methods: A correlation study was made in a cross-sectional survey. The self-reportedquestionnaire consisted of a brief WHO Quality of Life indicator in Thai (WHOQOL-BREF-THAI).32 medical students in the fourth and the fifth year were recruited (100%) including 20 malesand 12 females. All students were single and came from CPIRD project.Results: 62.5% were at a fair level of quality of life while 37.5% were at a good level. Qualityof life were not correlated with gender, academic year, religion, native habitat, or age. Overallstress score correlated with overall quality of life score, especially personal stress factors butstress factors about study issue did not.Conclusion: Personal stress factors correlated with overall quality of life. Hence, an activity thatcan encourage adaptive skills has a role in improving quality of life. Finding for other factorsthat correlated with poor quality of life with immediately solved is very important. Furthertimely study for evaluating quality of life in medical students is recommended.