การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการวัดระดับความเครียด และภาวะซึมเศร้า ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรังและอยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำนวน 5,756 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจ์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน โดยใช้แบบวัดความเครียดของสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที One way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลวิจัย พบว่า 1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม/ เก๊าท์/ รูมาตอยด์/ ปวดข้อ (ร้อยละ 94.96) รองลงมา คือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 75.66)2. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 56.75) รองลงมาความเครียดสูง (ร้อยละ 21.62) มีความเครียดน้อย (ร้อยละ 16.22) และ มีความเครียดรุนแรง (ร้อยละ 5.41)3. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ ไม่พบภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 70.27 และพบภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 29.73 โดยส่วนใหญ่มีความซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 18.92 รองลงมามีความซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 8.11และมีความซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 2.74. ปัจจัยด้านระดับการศึกษาและอาชีพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ 5. ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า 6. ความเครียดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนเขตเมือง เทศบาลเมืองแสนสุข มีปัญหาภาวะสุขภาพจิตด้านความเครียดและภาวะซึมเศร้า จึงสมควรเร่งดำเนินการดูแลรักษาและเอาใจใส่เพื่อพัฒนาผู้สูงวัยในชุมชนให้สามารถปรับตัวมีความสุขและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้นThe purpose of this research was to evaluate mental health of the elderly with chronic illnessin community. Three hundred and sixty-one samples were simple random sampling from 5,756older people in Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand. The mental health evaluation toolswere Suanprung Stress Test-20 and Thai Geriatric Depression Scale: TGDS. Statistics employedwere frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One way ANOVA and Pearsonproduct moment correlation coefficient.We found that;1. The most common health problems of the elderly was arthritis and knee pain(94.96%). Hypertension (75.66%) was the second most common health problem.2. Most of the elderly (56.75%) had moderate stress level, following by high stress levels(21.62%), mild stress (6.22 %) and severe stress level (5.41%).3. There was no depression up to 70.27% among the elderly with chronic illness.While depression consisted of 29.73% which was mild (18.92%), moderate (8.11%) and severedepression (2.7%).4. Education and occupation of elderly were associated with their stress statisticalsignificance at the level of 0.05 and of 0.01 respectively.5. The personal characteristics of the elderly with chronic illness were not associatedwith depression.6. The stress was related to depression in elderly with chronic illness statisticalsignificance at the 0.05 level.There are mental health problems, stress and depression among the elderly withchronic illness who are living in an urban community, Saensuk municipality, Chon Buri Province,Thailand. Elderly care to improve quality of life is needed.