การพัฒนามาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง

Authors

  • พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
  • เวธกา กลิ่นวิชิต
  • พวงทอง อินใจ
  • รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
  • วารี กังใจ

Keywords:

ผู้สูงอายุ - - การดูแล - - มาตรฐาน, ผู้สูงอายุ - - สุขภาพและอนามัย, สถานพยาบาล - - ไทย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยใช้เทคนิคและขั้นตอนการสร้างมาตรฐาน ของเมสัน1 ตามขั้นตอนดังนี้ 1) การสำรวจปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง 2) ร่างมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุโดยศึกษาข้อมูลจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการพร้อมทั้งทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ 3) การระดมสมองโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกร่างมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ4) การสอบถามความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรฐาน 5) วิเคราะห์ปรับปรุงและสรุปมาตรฐานการดูแลในศูนย์การให้บริการผู้สูงอายุแบบพักค้างที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกใช้เวลาในการศึกษาตั้งแต่ ตุลาคม 2555 ถึง กันยายน 2556 ประชากร คือ ผู้รับบริการและผู้ให้บริการของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันออก จำนวน 3 แห่ง คือ ชลบุรี 2 แห่ง จันทบุรี 1 แห่ง จำนวน 74 คน เป็นผู้ให้บริการ 33 คน ผู้สูงอายุ 41 คน และสุ่มอย่างง่ายจากประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง 53 คน เป็นผู้ให้บริการ 26 คนและผู้สูงอายุ 27 คน ผลการพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 10 มาตรฐาน คือ1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านสุขภาพ 3) สิทธิและความคุ้มครอง 4) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและระบบความปลอดภัย และ 5) ด้านระบบมาตรฐานภายใน ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.51, SD = .64) และเมื่อพิจารณามาตรฐานเป็นรายด้าน พบว่า สามารถเรียงตามลำดับดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านระบบมาตรฐานภายใน (X = 4.60, SD = .80) ระดับมากที่สุด 2) องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและระบบความปลอดภัย (X = 4.55, SD = .68) ระดับมากที่สุด 3) องค์ประกอบด้านสิทธิและการได้รับความคุ้มครอง (X = 4.45, SD = .76) ระดับมาก 4) องค์ประกอบด้านสุขภาพ (X = 4.44,SD = .79) ระดับมาก และ 5) องค์ประกอบด้านบริหารจัดการ (X = 4.37, SD = .59) ระดับมากThis research aims to develop standards of aging health care in nursing home. The researchconducted with participatory action research by using Mason’s standardize techniques andprocedures. 1) identifying the problem and the need to care for the elderly in nursing home2) developing standards of aging health care by using the information from providers and theelderly who was the customer of nursing home service and including to review literature ofvarious standards of aging health care 3) brainstorming by a workshop to draft the standard4) asking the opinion of the elderly about the appropriateness and feasibility of the standard byusing questionnaire 5) analyze and improve the standard of aging health care in nursing homein the Eastern region. The study was done during October 2555 to September 2556. The 74population were the elderly and providers in three of aging care centers in the Eastern regionof Thailand namely; 2 places in Chonburi and 1 place in Chuntaburi (elderly 41 persons andproviders 33 persons). The samples were selected by using purposive selection and simplerandom sampling. A sample of 53 people is a provider and 26 is an older. This study foundthat the standards of ageing health care consists of five elements 10 standards: 1) Effectivemanagement, 2) Quality of health care service, 3) The rights and protections of the elderly 4)Good safety and Environment, and 5) the internal process. The appropriateness of this standardwas in the most agree level (X = 4.51, SD = .64). The standard of internal process (X = 4.60,SD = .80) and the standard of good safety and environment (X = 4.55, SD = .68) were in thehighest level.

Downloads