โรคหัวใจในสตรีมีครรภ์

Authors

  • กิตติ กรุงไกรเพชร

Keywords:

สตรีมีครรภ์ - - โรค, หัวใจ - - โรค

Abstract

ด้วยการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขความพิการแต่กำเนิดด้วยการผ่าตัดรักษา ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้อยู่รอดจนเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ที่สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ในปัจจุบันจะพบว่ามีอัตราป่วยและตายลดลงอย่างมากจนแข็งแรงพอที่จะตั้งครรภ์และมีบุตร โรคหัวใจในสตรีมีครรภ์พบได้ร้อยละ 1 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของมารดาในกลุ่มประเทศตะวันตก แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ไปมาก การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคหัวใจส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดในทำนองกลับกันการตั้งครรภ์และการคลอดก็ส่งผลกระทบต่อโรคหัวใจที่เป็นอยู่แล้วเช่นเดียวกันการให้การดูแลควรใช้การบริบาลเป็นทีมแบบสหสาขา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาด้วยยา การผ่าตัด การพยาบาลและฟื้นฟู เป็นต้น ซึ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรมีความเข้าใจในพยาธิวิทยาและกลไกการดำเนินโรคกับการตั้งครรภ์และการคลอดซึ่งบทความนี้ได้ทำการทบทวนเพื่อเป็นแนวทางในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปThe update of medical technologies makes us live longer for examples the congenital heartdisease patients who died in large number in the past. But nowadays the morbidity and mortalityrate were decreased significantly after the development of surgical techniques, equipmentsand better medicine in the last decade. Many patients who survive from the congenital defectscorrection can now reach the fertility period and have capabilities to conceive babies. The overallincidence of pregnancy with heart disease is 1% of pregnancies. Heart disease in pregnancies is acommon cause of maternal death in Western countries. Despite the development of modalitiesof treatments on the heart disease, the women who have this coincidental illness will beaddressed as ‘mother at risk’ who may need special antepartum, intrapartum and postpartumcares. Because these patients have many physiological changes in cardiovascular system whichimpact on her underlying disease. The additional, heart disease will have negative effect onpregnancy outcomes. The treatment plan for these patients should involve in multidisciplinaryand participation among health care team and families. The health care team should understandthe pathophysiology changes during pregnancy and ready for emergency situations.

Downloads