ประสิทธิผลของแผนที่โรคในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน

Authors

  • อุบลวรรณา เรือนทองดี

Keywords:

การส่งเสริมสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน, สุขภาพ, การออกกำลังกาย

Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแผนที่โรคที่แสดงความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยของชุมชน 2. ให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3. เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งด้านการส่งเสริมสุขภาพวิธีการศึกษา สถานที่ศึกษา ได้แก่ ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะเวลาดำเนินการ 19 เดือน ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 - กันยายน 2557 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 สร้างเครื่องมือแผนที่โรคและประเมินผลการนำไปใช้เป็นระยะเวลา 14 เดือน ผู้วิจัยอบรมอาสาสมัครหมู่บ้านในการทำแผนที่ชุมชนขนาด 1.0x1.0 เมตร และนำข้อมูลโรคที่พบบ่อยในชุมชนจากข้อมูลทุติยภูมิมาเติมในแผนที่โดยใช้ “สี” แทนสัญญลักษณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ สีเหลืองแทนโรคเบาหวาน สีน้ำเงินแทนโรคความดันโลหิตสูง สีแดงแทนโรคหัวใจ และสีม่วงแทนผู้พิการ เรียกแผนที่นี้ว่า แผนที่โรค แล้วนำไปติดตั้งไว้ในชุมชนรวม 15 ชุมชนระยะที่ 2 ใช้แผนที่โรคเป็นเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยการประชาสัมพันธ์ การนำเสนอแผนที่โรคการให้ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคแล้วติดตามการตอบสนองและมีส่วนร่วมของชุมชนผลการศึกษา ระยะที่ 1 ได้แผนที่โรคที่แสดงความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ชุมชนเห็นอย่างชัดเจนในทุกชุมชนจำนวน 15 ชุมชน หลังจากใช้แผนที่โรคประมาณ 3 เดือน ภาพจะเลือนลางทำให้ชุมชนไม่สนใจ และผู้วิจัยใช้ในการเยี่ยมบ้านลำบาก เพราะมองไม่เห็นต้องคอยสอบถามทำให้เยี่ยมบ้านได้เพียงร้อยละ 72 จึงได้ปรับปรุงทำแผนที่โรคขึ้นใหม่โดยใช้ข้อมูลร่วมกับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ google map เพิ่มถนน สถานที่สำคัญ ภูมิทัศน์บรรจุลงในโทรศัพท์แบบ smart phone ทำให้เห็นความชุกของโรคได้ชัดเจน ใช้ง่าย สะดวก สามารถพกพาไปใช้ได้ในทุกพื้นที่ระยะที่ 2 ใช้แผนที่โรคเป็นเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาพผู้วิจัยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่บ้านและวัดลานคาในการประชาสัมพันธ์และจัดการให้ความรู้ แผนที่โรคแสดงให้ชุมชนเห็นว่ามีครอบครัวที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและผู้พิการถึงร้อยละ 50.73 ของครอบครัวทั้งหมด จากนั้นหน่วยงานจากเทศบาลตำบลและผู้นำชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญจึงเชิญผู้วิจัยเข้าร่วมประชุมด้วยส่งผลให้เกิดการร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่ใช้วิธีการรำวงย้อนยุคที่ระยะเวลา 3 เดือนหลังกิจกรรมพบว่าในจำนวนผู้เข้าร่วม 40 คน มีความดันโลหิต ความยาวเส้นรอบเอวและน้ำหนักเฉลี่ยของกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเกิดการขยายพื้นที่การออกกำลังกายไปยังพื้นที่ข้างเคียงดังนั้นเทศบาลจึงสนับสนุนเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อจัดทำโครงการออกกำลังกายด้วยรำวงย้อนยุคและเพิ่มการเต้นบาสโลปเข้าไปในโครงการในปี 2558บูรพาเวชสาร ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๘12สรุป การใช้แผนที่โรคทำให้ชุมชนตระหนักปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในชุมชนของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การใช้ทรัพยากรและแหล่งประโยชน์ด้านสุขภาพในชุมชนมาช่วยให้ชุมชนสามารถดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยตนเองได้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถนำแผนที่โรคไปใช้ในการเยี่ยมบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพObjectives1. To develop a map that shows the prevalence of common chronic non-communicabledisease of the community.2. To promote the community awareness of their common chronic non-communitydiseases.3. To strengthen the community through the promotion of health.Methods The study setting was at Khok-KramSubdistrict, Bang Pla Ma District, SuphanburiProvince using a period of 19 months from February 2013 - September 2014. The study designwas divided into two phases. The first phase was the development and evaluation of “DiseaseMap” at a period of 10 months. We trained volunteers from 15 communities to build theirown community map (1.5x2.0 meter). Four common chronic non-communicable diseases werefilled in the corresponding residential homes using colors. The yellow, blue, red, and purplecolor represented as the diabetes, hypertension, heart disease and disabled respectively. Itwas called “Disease Map”. The maps were deployed in 15 communities and evaluated atthe ten-month period. The second phase, by using the concept of Health Belief Model andthe community involvement, the “Disease Map” was installed in a temple for advertising anddemonstration to publics. The health education and disease prevention were also provided.Then, the response and participation of the community were tracked.Results Phase 1 - The Disease Map of 15 communities demonstrated the prevalence of thecommon non-communicable diseases clearly visible. After three months of installation, thecoloration of the Disease Map was fated which was not attractive for community residencyanymore neither for the nurse who was unable to use the Disease Map as a guide tool torelocate the house for home visit. Therefore, only 72 percent of patients was visited at home.So, the new portable Disease Map was created using the data information, new technologyand google map to adjust the mapping for more accurate details then downloaded into smartphone which was more convenient and more applicable for home visit.Phase 2 – The disease map showed the prevalence of the common chronic non-communicablediseases such as diabetes, hypertension, heart disease and disable. After displaying the Diseaseบูรพาเวชสาร ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๘14Map, the community developed more sense of awareness. There were more cooperation andmore contribution between community and local authorities, resulting in organizing traditionaldance for all age groups to promote their own health. Among 40 participants who participatedin the traditional dance regularly, their blood pressure, weight and waist circumferences weredecreased significantly. When municipalities recognized the importance of their communityhealth, therefore budgets were allocated to support traditional dancing and baslope dancingactivities for the following year.Conclusions The Disease Map is the good tool for presenting the prevalence of chronic noncommunicablediseases of the community. It creates an awareness of community health.Traditional dancing is one of the forms to promote community health. A new portable DiseaseMap also can be a useful tool for home visit.

Downloads