วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาระบาดวิทยา โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเก็บรวบรวมจากรายงานของสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร ซึ่งบันทึกข้อมูลเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดความแม่นยำ ของการพยากรณ์ คือ ค่ารากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย ค่าร้อยละของค่าสัมบูรณ์ของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ยและค่าสัมบูรณ์ของค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ยผลการศึกษา ตัวแบบที่เหมาะสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคสุกใสในจังหวัดเชียงใหม่คือตัวแบบ ARIMA (0,1,0)(1,1,1)12สรุปผล ตัวแบบวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์นี้สามารถนำไปใช้พยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคสุกใสในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประกอบการวางแผนเพื่อหาแนวทางป้องกันและควบคุมโรคที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตObjective this reseach was objected to determine the optimal model for forecasting thenumber of Chicken pox in Chiang Mai.Methods Data to be used in this study was secondary data which monthly collected from theBureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Bangkok. sinceMay, 2009 to August, 2015 and analyzed with Box-Jenkins method. Criteria to be measured theaccuracy of forecasting was the root mean square error (RMSE), the mean absolute percentageerror (MAPE) and the mean absolute error (MAE).Results The result of study showed that the optimal model for forecasting the number ofChicken pox in Chiang Mai was the ARIMA(0,1,0)(1,1,1)12.Conclusions The Box-Jenkins model capably forecasted the number of Chicken pox in ChiangMai also assembly designed to protect and control the diseases in the future.