ผลของการบันทึกการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์ที่มีผลต่อการลดน้ำหนักและการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน

Authors

  • ธีรพล มโนศักดิ์เสรี

Keywords:

ผู้ที่เป็นโรคอ้วน, การบันทึกการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์, การลดน้ำหนัก, โปรแกรมลดน้ำหนัก

Abstract

ทั่วโลกมีผู้ป่วยอย่างน้อย 2.8 ล้านคนต่อปี ที่ต้องมาเสียชีวิตจากโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามดัชนีมวลกายที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบบ่อยและส่งผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพ การชั่งน้ำหนักเป็นประจำเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภายใต้ทฤษฎีการจัดการตนเอง (self management) โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการเฝ้าติดตามดูตนเอง (self-monitoring) เห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก อันจะส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจภายในตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถลดน้ำหนักได้ตามมา ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์ ที่มีผลต่อการลดน้ำหนักในคนอ้วนวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการบันทึกการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์ ที่มีผลต่อการลดน่ำหนักและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่เป็นโรคอ้วนวิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างแบ่งโดยวิธีสมัครใจแบบเจาะจงได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองจำนวน 28 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 29 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับความรู้และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งได้มีการติดตามชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์โดยอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมเหมือนกับกลุ่มทดลอง แต่ไม่ได้มีการติดตามชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Pair t-test และ Independent t-testผลการวิจัยด้านความรู้ กลุ่ม ทดลองมีความร้หลัง ทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.004) ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายหลังการทดลองนั้นกลุ่ม ทดลองและกล่มุ ควบคุมมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายไม่แตกต่างกัน(p-value = 0.146, 0.438 ตามลำดับ) ส่วนผลการลดน้ำหนักหลังการทดลองของทั้งสองกลุ่ม ลดลงไม่แตกต่างกัน (p-value = 0.85)สรุป การชั่งหนักประจำสัปดาห์มีผลต่อการลดน้ำหนักไม่แตกต่างกับการชั่งน้ำหนักประจำเดือน

Downloads