องค์ประกอบของกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 5 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายในการถ่ายทอด เพื่อถ่ายทอดวิธีการดูแลเด็ก 2) องค์ความรู้ เนื้อหาวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านวัตถุคือ 2.1) องค์ความรู้ด้านขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการ ถ่ายทอด 2.2) องค์ความรู้ด้านคติและความเชื่อ 3) คุณลักษณะของผู้ถ่ายทอด เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในองค์ความรู้และเนื้อหาวัฒนธรรมนั้น ๆ เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ผู้นำทางธรรมชาติของชุมชน คุณลักษณะของผู้รับการถ่ายทอด มีทั้งการถ่ายทอดให้ลูกหลานภายในครอบครัวและถ่ายทอด ให้คนอื่นในชุมชนที่มีความสนใจเรียนรู้ 4) วิธีการที่ใช้ในการถ่ายทอด มีลักษณะเป็นมุขปาฐะ การแสดงวิธีการให้ผู้เรียนจดจำ การทดลองทำด้วยตนเอง การให้เลียนแบบจากผู้ถ่ายทอดและ การให้เรียนรู้แบบครูพักลักจำส่วนสื่อที่ใช้ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรมและสื่อวัสดุ 5) การประเมินผลกระบวนการถ่ายทอด เป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการด้วยการสังเกต และให้คำแนะนำ นอกจากนี้ การศึกษากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมต้องศึกษาครอบคลุม ถึงคุณค่าของวัฒนธรรมที่มีต่อบุคคลและชุมชนการพัฒนากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวทฤษฎีการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน มีองค์ประกอบของ การสร้างพลัง ได้แก่ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ความรู้พื้นฐานและ ยุทธศาสตร์ที่ใช้ใน การสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีขั้นตอนการสร้างพลัง ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ชุมชนแบบ มีส่วนร่วม 2) การระบุความต้องการของชุมชน 3) การสร้างพลังผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ของ ชุมชน 4) การสร้างหน่วยการเรียนรู้ 5) การทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้ 6) การสะท้อนความคิด และการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้ และประเมินผล การสร้างพลังเด็กปฐมวัยที่ผ่านกระบวนการ มีพัฒนาการความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง 1) ใช้ภาษา ท้องถิ่นในการเรียนรู้และสื่อสารกับครูชาวบ้านขณะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรม 2) รับรู้ วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย อาหาร-ขนมพื้นบ้าน ประเพณีในชุมชนของตน 3) รับรู้วิถีชีวิต แบบพึ่งพาอาศัยกัน การดูแลรักษาทรัพยากรจากป่าชุมชนที่ใช้หมุนเวียนในการดำรงชีวิต Five main facets of child rearing cultural transmission process were examined: 1) objectives: transmitting child-care knowledge to parents and other stakeholders. 2) body of knowledge contents categorized into: 2.1) ritual steps and materials 2.2) lore and beliefs. 3) characteristics of transmitters and receivers; transmitters were consisting of wise men of experts in each genre of cultural content. Some were venerable and some were natural leaders of the community; receivers –consisting of related persons (kin) and other persons who were interested. 4) methods/ media-transmission of oral literature, practical demonstrations, practice and imitation, trial and error; and 5) evaluation, including informal practice and additional instruction. Four main facets of the local wisdom empowerment to develop child rearing cultural transmission process consisted of concepts and principles, objectives, basic knowledge, and strategy on wisdom empowerment. Seven stages of empowerment procedures were: 1) participatory rural appraisal; 2) defining community needs; 3) empowerment via community learning experience; 4) develop learning units; 5) field study; 6) reflection and knowledge exchanged dialogue; and 7) participatory evaluation. After the empowerment process the children demonstrated their self-understanding in three aspects: 1) using their ethnic language to learn from the local wisdom teachers, 2) observing their community heritage in cuisine and tradition, 3) accepting their community and forest interdependent way of living.