การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา: ประสบการณ์ความพึงพอใจของผู้ป่วย

Authors

  • วีรวัลย์ แสนสวัสดิ์
  • ศรสุภา ลิ้มเจริญ

Keywords:

การตรวจคัดโรค, ลำไส้ใหญ่ - - มะเร็ง - - การวินิจฉัย, มะเร็ง - - การวินิจฉัย

Abstract

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CTcolonography, CTC) เป็นการตรวจค่อนข้างใหม่ในประเทศไทยและยังไม่แพร่หลาย การศึกษานี้จึงได้สำรวจความเข้าใจและความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการเตรียมตัวก่อนตรวจ ความรู้สึกขณะตรวจและความคิดเห็นหลังการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยและทางการแพทย์ต่อไปวิธีการ ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากแบบสอบถามผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการตรวจ CTC ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ผลการศึกษา มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 128 คน อายุเฉลี่ย 58.8 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง 80 คน (ร้อยละ 62.5) ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับคำแนะนำก่อนตรวจและเข้าใจการเตรียมตัวก่อนตรวจชัดเจนดีพอสมควรถึงดีมาก ระหว่างที่ทำการตรวจมีความรู้สึกอึดอัดขณะที่ถูกบีบลมเข้าในลำไส้ใหญ่เล็กน้อยถึงอึดอัดพอสมควร ร้อยละ 91.4สอบถามหลังจากตรวจเสร็จแล้วว่าถ้าผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจนี้อีกร้อยละ 68.0 ยอมตรวจแน่นอน ผลการประเมินจากรังสีแพทย์พบว่ามีอุจจาระหรือของเหลวตกค้างจนเป็นปัญหาบดบังการดูรอยโรคในลำไส้ใหญ่ (nonassessablecolonic segment) เพียงร้อยละ 1.3 สรุป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการตรวจ CTC ดี เนื่องจากมีการให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจนช่วยให้ผู้ป่วยร่วมมือในการเตรียมตัวก่อนตรวจเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาขณะทำการตรวจ และมีผลให้ผู้ป่วยไม่ปฏิเสธในการตรวจครั้งต่อ ๆ ไปCT colonography (CTC) for screening of colorectal cancer in Thailand is quite anew method and not popular. Thus we investigated patient satisfaction concerning patients’understanding for bowel preparation, discomfort during examination, and acceptance.Design We reviewed questionnaires from all patients who underwent CTC at Burapha Universityhospital from 1st July 2013 to 30th June 2016.Results There were 128 patients, mean age 58.8 years. Eighty patients (62.5%) were female.All of patients received instructions clearly to very clearly. Of the 128 patients, 91.4% felt mildto moderate discomfort during the examinations and 68.0% accepted the next examinations.There were 1.3% non-assessable colonic segments in this study.Conclusions Most patients satisfied this method because they received clear instructions of thepatient preparation for CTC. This resulted in a good patient co-operation and a well acceptancefor the next examination.

Downloads