ผลของการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าโดยการเป่ากังหันลมต่อความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • เสกสรร ไข่เจริญ
  • มยุรี พิทักษ์ศิลป์
  • วัลลภ ใจดี
  • สมจิต พฤกษะริตานนท์

Keywords:

ผ่อนลมหายใจออกช้า, ความดันโลหิต, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังได้รับการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ ผ่านการเป่ากังหันลมเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฝึกวิธีการศึกษา วิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าโดยการเป่ากังหันลมร่วมกับการรักษาแบบปกติ วัดผลการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตที่ 8 สัปดาห์ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกคัดออกจากกลุ่มทดลอง 4 คน เนื่องจากไม่สามารถฝึกผ่อนลมหายใจได้สม่ำเสมอและขาดการรักษา จึงนำมาแปลผล 56 ราย พบวา่ กลุมทดลองมีความดันโลหิตลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองโดยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบลดลง-7.5 มม.ปรอท (95%CI,-11.5 ถึง-3.4) ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายลดลง-4.4 มม.ปรอท (95%CI,-7.1 ถึง-1.6) และความดันเลือดแดงเฉลี่ยลดลง-5.4 มม.ปรอท (95%CI,-8.1 ถึง-2.7)ส่วนกลุ่มควบคุม พบว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบเพิ่มขึ้นจากเดิม 5.5 มม.ปรอท (95%CI,-0.95 ถึง 10.1) ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจคลายและความดันเลือดแดงเฉลี่ยก่อนและหลังแตกต่างกันไม่ชัดเจน ผลการเปรียบเทียบความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและความดันเลือดแดงเฉลี่ยมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ผลต่าง 13 มม.ปรอท 95%CI, 6.94 ถึง 19.05 และ6.3 มม.ปรอท 95%CI, 2.47 ถึง 10.03 ตามลำดับ; P<0.01) ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจคลายไม่แตกต่างกันสรุป การฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีผลช่วยในการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงObjectives To assess the effect of slow breath training program on the blood pressure (BP) inhypertensive patientMethods A randomized controlled trial was study between December 2015 and February2016 in Bangwau Health Promoting Hospitals, Bangpakong District, Chacheongsao Province. 60hypertensive patients were randomly allocated to the intervention group (n=30) of slow breathtraining program and usual medical care or to a control group (n=30) of only usual medicalcare. The primary analysis was comparing BP change from baseline to final visit both groupsat 8 weeks’ follow-up.Results 56 participants were analyzed, 4 participants in intervention group were excludeddue to 2 participants discontinued breath training program and the others loss of follow-uphowever no adverse events. The study found that intervention group was improvements insystolic BP (SBP) -7.5 mmHg (95% confidence interval(CI), -11.5 to -3.4 mmHg), diastolic BP (DBP)-4.4 mmHg (95% CI, -7.1 to -1.6 mmHg), and mean arterial pressure (MAP) -5.4 mmHg (95% CI,-8.1 to -2.7mmHg). The control group showed increase in SBP 5.5 mmHg (95% CI,-0.95 to 10.1mmHg) but DBP and MAP was not significant BP change from baseline. The comparing betweenintervention and control group showed SBP change (-7.5 mmHg Vs 5.5 mmHg, respectively;difference 13 mmHg 95% CI, 6.94 to 19.05; P<0.01) and MAP change (-5.4 mmHg Vs 0.9 mmHg,respectively; difference 6.3 mmHg 95% CI, 2.47 to 10.03; P<0.01), unfortunately DBP was notsignificant difference.Conclusion Over an 8-weeks treatment period, slow breath training program is effective inreducing blood pressure in hypertensive patients.

Downloads