ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

Authors

  • ลักษณาพร กรุงไกรเพชร
  • กิตติ กรุงไกรเพชร

Keywords:

ปัจจัย, การสูบบุหรี่, นิสิต/นักศึกษา, มหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 453 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าไคสแควร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 20.84 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.30 ภูมิลำเนาเดิมเป็นภาคตะวันออก ร้อยละ 39.50 อยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 69.30 บิดามารดาอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 79.70 ผู้อุปการะเลี้ยงดูเป็นบิดามารดา ร้อยละ 80.40 รายรับต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท (ร้อยละ 43.05) รายจ่ายต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างระหว่าง 2,000-5,000 บาท (ร้อยละ 51.20) อัตราการ สูบบุหรี่ร้อยละ 9.27 เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่พบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ พบว่า เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง p=.00 การอยู่ร่วมกับครอบครัวพบว่า การอยู่โดยลำพังสูบบุหรี่มากกว่าอยู่ร่วมกับบิดามารดา p=.03 รายจ่ายพบว่า รายจ่ายมากสูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่รายจ่ายน้อย p=.00และความรู้พบว่า มีความรู้น้อยสูบบุหรี่มากกว่ามีความรู้มาก p=.01 และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบมากที่สุดคืออยากทดลองสูบ ร้อยละ 45.24 รองมาคือ ความเครียดวิตกกังวลร้อยละ 33.33 จำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ยต่อวันส่วนใหญ่ 2-5 มวน (ร้อยละ 45.24) ความถี่ในการสูบมากที่สุดคือ สูบทุกวันร้อยละ 45.23 รองมาสูบสัปดาห์ละ 2-3ครั้งร้อยละ 19.04 ไม่มียี่ห้อร้อยละ 38.10 ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 61.90 ร้อยละ 35.71 ค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่น้อยกว่า 100 บาทต่อเดือน โอกาสในการสูบบุหรี่คือเมื่อไปเที่ยวกลางคืน/ดื่มสุรา ร้อยละ 35.90 สถานที่ที่ท่านมักจะสูบบุหรี่คือ สถานบันเทิง (เธคหรือผับ) ร้อยละ 35.29 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่พบว่า ร้อยละ 83.33 เห็นว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และร้อยละ 76.19 เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อคนรอบข้างThe research was a descriptive study to determine the factors that influence smoking amongBurapha University students, Chonburi Province. Four hundred fifty three students wereselected by systematic sampling. The instrument was a questionaire where validity andreliability were tested. The data was analysed by using the percentage, mean, standarddeviation, and chi-square. We found that mean age of students was 20.84 years. Female was69.30%. Their hometowns were in eastern region (39.50%). The majority (69.30%) stayed withtheir parents. Parents were living together up to 79.70%. About 80.40% of benefactors weretheir own parents. Most of them (43.05%) were given around 2,000-5,000 Baht per month,and most of them (51.20%) spent around 2,000-5,000 Baht a month either. Smoking rate was9.27%. As comparing between smokers and non-smokers, male smoked cigarette more thanfemale significant statistically (p = .00). Students who stayed alone, smoked cigarette morethan students who stayed with their parents (p = .03). Students who had higher expenditureper month smoked more cigarettes than those who had less expenditure (p = .00). About theeffect of smoking, those who knew less smoked cigarettes more than those who knew better(p = .01). For the smoking behaviors, we found that try smoking was the most common reason(45.24%), following by stress/anxiety (33.33%). The average of cigarettes used was 2-5 piecesper day (45.24%). Smoked everyday was 45.23%. Smoked 2-3 days per week was 19.04%. Mostof them brought no brand cigarettes (38.10%). Sources of cigarettes were mainly purchasedfrom convenient stores (61.90%). Cost of smoking was less than 100 Baht per month (35.71%).Main occasions for smoking was during nightlife and drinking (35.90%). There were 88.33% and76.19% admitted the risk of respiratory disease and bad affect on people around respectively

Downloads