ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของผู้สูงอายุ

Authors

  • วีระยุทธ แก้วโมกข์

Keywords:

มณีเวช, เทคนิคการทรงตัว, ความยืดหยุ่น, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ผู้สูงอายุ

Abstract

บทคัดย่อบทนำ ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงเรื่องการหกล้มและอุบัติเหตุรุนแรงต่างๆ เพิ่มขึ้น รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น การทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการหกล้มและอุบัติเหตุรุนแรงต่างๆ จึงได้ทำการศึกษาการทำกายบริหารแบบมณีเวชวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในกลุ่มผู้สูงอายุรูปแบบการวิจัย การศึกษาการวิจัยกึ่งทดลองสถานที่ทำการวิจัย หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลขุนหาญกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุ สุขภาพดี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนและไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำเป็นเวลา 3 เดือนจำนวน30 คนวิธีการศึกษา ผู้สูงอายุได้รับการสอนและฝึกการทำกายบริหารแบบมณีเวชจากวิทยากรเป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้นให้ฝึกต่อที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังจากฝึกกายบริหารแบบมณีเวชครบ3 เดือน ผู้สูงอายุได้รับการวัด ความยืดหยุ่น สมดุลการทรงตัว ความแข็งแรงของแรงกำมือและกล้ามเนื้อเหยียดเข่าผลการการศึกษา ผู้สูงอายุชาย 16 คนและหญิง 14 คน อายุเฉลี่ย 67 ปี ทุกคนออกกำลังกายจนครบ 6 สัปดาห์โดย 22 คน จาก 30 คนนี้ ทำกายบริหารสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ เมื่อใช้ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ การทรงตัว (time up & go test : p=0.000, functional reach test : p=0.024) ความยืดหยุ่น (back scratch test : p=0.007, chair sit and reach test : p=0.005) ความแข็งแรงของกล้ามเนี้อกำมือ (grip strength : p=0.01) ดีขึ้นกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าสรุป การทำกายบริหารแบบมณีเวช สามารถเพิ่มสมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกำมือ แต่ไม่มีผลต่อความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่าIntroduction The elderly who are at high risk of falling and serious injuries, A good exerciseshould improve body balancing, flexibility and strength in the elderly persons and prevent fallsand serious injuries, Maneevej exercise technique is applied in this study.Objectives To study the effects of training the elderly with Maneevej exercise technique onbody balancing, flexibility and strengthStudy design Quasi-Experimental design : pre and post one group intervention studySetting Department of Physical Therapy, Khunhan HospitalSubjects Thirty community dwelling elderly persons who were healthy and did not practicedregular exercise for the past 3 monthsMethods Participants were taught how to exercise with the Maneevej exercise technique bydemonstrator for 1 day then let them continued exercise at home 4 times/week for six weeks.The following were measured or tested before and after training : body flexibility, body balancing, grip strength and knee extensor strength.Results Sixteen males and fourteen females with mean age 67 years old were involved. Allparticipants had continued Maneevej exercise technique for 6 weeks, only 22 participants from30 participants (73%) performed regular exercise at least 4 day per week. The participantsshowed improvement significantly on the body balancing function (time up & go test : p=0.000,functional reach test : p=0.024), body flexibility (back scratch test : p=0.007, chair sit and reachtest : p=0.005) and grip strength (grip strength : p=0.01). But, there were no change in the kneeextensor strength.Conclusion Six weeks exercise with Maneevej exercise technique can improve body flexibility,body balancing function and grip strength but not for knee extensor strength in elderly persons.

Downloads