บทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวและความสุขในการทำงานบริการปฐมภูมิในพื้นที่ภาคใต้

Authors

  • พณัชกร มีสิทธิ์
  • หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล

Keywords:

แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว, งานบริการปฐมภูมิ, บทบาท, ความสุข

Abstract

แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นแพทย์ที่มีบทบาทหลักในการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิแก่บุคคลครอบครัว และชุมชน การผลิตแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวมีมากขึ้น แต่ยังขาดข้อมูลสะท้อนการทำงานในบทบาทบริการปฐมภูมิของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวปัจจุบันวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวในการปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิทั้ง 7 มิติและเปรียบเทียบบทบาทในการปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิในสถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันระเบียบการวิจัย การศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Analytical cross sectional study) ในแพทยเ์วชปฏิบัติครอบครัวที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2558 (รุ่นที่ 1–14) ปฏิบัติงานในพื้นที่ 14 จังหวัดของภาคใต้ทั้งหมด ณ ช่วงเวลาที่สำรวจรวบรวมข้อมูลโดยใช้อิเล็คทรอนิคส์แบบสอบถามสร้างใน Google Forms ส่งทางอีเมลล์และข้อความในโทรศัพท์(online questionnaire) วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Kruskal Wallis test ที่p value < 0.05ผลการศึกษา บทบาทที่ปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ บริการอย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ย 3.39 (S.D. 0.36) บริการเชื่อมโยงค่าเฉลี่ย 3.62 (S.D. 0.32) ครอบครัวเป็นศูนย์กลางค่าเฉลี่ย 3.47 (S.D. 0.47) ดูแลถึงชุมชน ค่าเฉลี่ย3.02 (S.D.0.55) และดูแลเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ค่าเฉลี่ย 3.56 (S.D. 0.52) บทบาทที่ปฏิบัติเป็นบางครั้งได้แก่บริการด่านแรกและบริการผสมผสานคะแนนเฉลี่ย 2.76 (S.D. 0.49), 2.98 (S.D. 0.48) ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบตามสถานที่ปฏิบัติงาน บริการด่านแรกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p value 0.029 การสนับสนุนส่วนใหญ่ได้รับระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ย 2.00-2.99 ความสุขในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดสรุปผลการวิจัย บทบาทงานบริการปฐมภูมิทั้ง 7 มิติ ส่วนใหญ่แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวปฏิบัติเป็นประจำและมีความแตกต่างด้านบริการด่านแรกระหว่างสถานที่ปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่มีความสุขในการปฏิบัติงานในฐานะแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวIntroduction The major role of family physician is serving primary care for individuals, familiesand communities. Recently, there is an increase in training number of family physicians. However,lacking of evidence based to evaluate the roles of family physicians in actual primary carepractices.Objectives To study the actual roles of family physicians in 7 dimensions of primary care serviceand to compare the roles in different types of care.Methods An analytical cross sectional study was conducted in family physicians who havebeen certified for diploma in Thai Board of Family Medicine since 2002-2015 (Batch 1-14). Allof them must be working in 14 provinces of southern Thailand. Data collected via electronicmails and using online Google questionnaire which were sent by smart phones. A descriptivestatistic was used and analyzed by the Kruskal Wallis test was analyzed to identify roles amongdifference types of service at p value <0.05.Results The roles in primary care service taken frequently were cultural competent (mean3.56, S.D. 0.52), coordinated care (mean 3.62, S.D. 0.32), family-centeredness (mean 3.47, S.D.0.47), continuous care (mean 3.39, S.D. 0.36) and community orientation (mean 3.02, S.D. 0.55).The roles taken for sometime were comprehensive care and first contact care and (mean 2.98,S.D. 0.48 and mean 2.76, S.D. 0.49 respectively). By comparing, first contact care significantlydiffered in each types of work place (p value 0.029). Supported score was at average mediumlevel (2.00-2.99). Most of the physicians were happy at high to the highest level.Conclusion The family physicians regularly took action in all 7 dimensions of primary careservice. First contact care was differed significantly in the work places. Majority of physiciansfelt happy while working in primary care as a family physician.

Downloads