การจัดการความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุภาคตะวันออก : กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรีและจังหวัดสระแก้ว

Authors

  • เวธกา กลิ่นวิชิต
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • คนึงนิจ อุสิมาศ

Keywords:

การจัดการความรู้, สุขภาพ, การดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ดูแล, ชุมชนนักปฏิบัติ

Abstract

         วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลที่ได้จากการจัดการความรู้ ในด้านความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และรูปแบบการจัดการความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนภาคตะวันออก กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรีและสระแก้ว         วิธีการศึกษา ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการจัดการความรู้ โดยประชากร คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 -75 ปี จำนวน 6,512 คน สมาชิกในครอบครัวและชุมชนหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างน้อย 1 คน จาก 42,339 ครัวเรือน จากชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุขและเทศบาลเมืองสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจงรวมทั้งสิ้น 180 คน จากชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข 90 คน (ผู้สูงอายุ 43 คน สมาชิกหรือผู้ดูแล 47 คน) และจากชุมชนเทศบาลเมืองสระแก้ว 90 คน (ผู้สูงอายุ 43 คน สมาชิกหรือผู้ดูแล 47 คน) เครื่องมือเป็นแบบประเมินความรู้ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแล และชุมชน แบบสัมภาษณ์ใช้แบบกึ่ง มีโครงสร้าง แบบบันทึกคลังความรู้โดยใช้การถอดบทเรียน (lesson learn) เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดี ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม ก่อนและหลังการเรียนรู้จากกระบวนการจัดการความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยความรู้ด้านสุขภาพโดยรวมหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ทุกด้านมากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมการรับประทานยามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมด้านการจัดการอารมณ์ ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มผู้ดูแลในครอบครัวและชุมชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยความรู้ด้านสุขภาพโดยรวมหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความรู้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการถอดบทเรียน ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนนักปฏิบัติโดยมีชุมชนนักปฏิบัติเกิดขึ้น 5 กลุ่ม ได้แก่          1. ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มอาหารสำหรับผู้สูงอายุ พบประเด็นสำคัญ 6 ประการ คือ 1) อาหารที่ผู้สูงอายุควรกิน 2) อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง 3) อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน 4) อาหารควบคุมน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน 5) อาหารช่วยการขับถ่ายในผู้สูงวัย และ 6) หลักการรับประทานอาหาร เพื่อภาวะโภชนการที่ดีในผู้สูงอายุ         2. ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มการออกกำลังกายในผู้สูงวัย พบประเด็นสำคัญ 6 ประการ คือ 1) หลักปฏิบัติในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 2) การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานหรือโรคอ้วน 3) รูปแบบการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 4) การใช้แรงในชีวิตประจำวันกับการออกกำลังกาย 5) ข้อห้ามหรือพึงระวังในการออกำลังกายของผู้สูงอายุ และ 6) หลักการออกกำลังกาย F.I.T.T.E สำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย Frequency ความถี่, Intensity ความหนัก, Time เวลา, Type ชนิด, และEnjoyment ความสนุกสนานในการออกกำลังกาย        3. ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มการจัดการอารมณ์และความเครียดในผู้สูงอายุ พบประเด็นสำคัญ 5 ประการ คือ 1) วิธีการคลายเครียด 2) การสร้างความสุขในชีวิตประจำวัน 3) แบบวัดและเฝ้าระวังความเครียด 4) แบบวัดภาวะซึมเศร้า และ 5) วิธีการฝึกจิต/สมาธิ         4. ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มรู้เรื่องยาในผู้สูงอายุ พบประเด็นสำคัญ 4 ประการ คือ 1) หลักการใช้ยาในผู้สูงอายุ 2) วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง 3) พฤติกรรมการใช้ยาไม่เหมาะสมที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 4) ความรู้เกี่ยวกับยาในกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มยารักษาโรคประจำตัว อาทิ ยาลดความดันโลหิต กลุ่มยานอนหลับและยาคลายความวิตกกังวล กลุ่มยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ และกลุ่มยาวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร         5. ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มรู้เท่าทันโรคภัยไข้เจ็บในผู้สูงอายุ พบประเด็นสำคัญ 6 ประการ คือ 1) โรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน โรคไต 2) วิธีการป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ 3) หกล้ม 4) โรคกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ 5) การตรวจสุขภาพ และ 6) โรคสมองเสื่อม          สรุป การวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลในครอบครัวและชุมชนมีความรู้ด้านสุขภาพทุกด้านและมีพฤติกรรมสุขภาพทุกด้านหลังกระบวนการการจัดการเรียนรู้ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นพฤติกรรมด้านการจัดการอารมณ์ของผู้สูงอายุซึ่งพบว่ายังไม่มีความแตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังกระบวนการการจัดการเรียนรู้ นอกจากนั้นการจัดการความรู้ทำให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์และความเครียด รู้เรื่องยา และรู้เท่าทันโรคภัยไข้เจ็บในผู้สูงอายุ          Objectives This purpose of the present study is to evaluate the effect of knowledge management process upon the health literacy, behavioral health and knowledge management model of elderly, caregivers and village volunteers in the community         Methods We used knowledge management process with participatory action research method. Population of this study were 6,512 elderly aged between 60-75 years and family members or caregivers at least 1 person from each 42,339 households in Saensuk Municipality, Chonburi Province and Sa Kaeo Municipality, Sa Kaeo Province. The total of 180 samples were purposively selected and divided into 2 groups; 90 persons from Saensuk municipality (43 elderly: 47 caregivers) and the same numbers in Sa Kaeo municipality. The instruments used in this study included questionnaire, semi-structure interview and recorder sheets for summarized lesson learned. Mean, percentage, standard deviation, paired t-test and content analysis were used for data analysis.          Results It was found that the mean knowledge score of ageing health care in all aspects among elderly after the participation in the knowledge management process were significantly higher as compared to the score before at the significant level of .01. The health behaviorsin overall aspects such as diet, exercise and disease prevention, drug compliance were significantly different at the level of .05, except emotional and stress management which were not significantly different. The overall aspects of knowledge mean score of caregivers afterparticipation in the knowledge management were higher than before participation significantly at the level of .01. Five community of practitioners (CoPs) as good practices models in health care for elderly in the community were developed.          1. Food CoPs consisted of 6 key points 1) food that elderly should eat 2) food that elderly should be avoid 3) food for overweight elderly 4) food for elderly with diabetes who would like to control blood sugar level 5) Food for defecation in elderly and 6) the principles of good nutrition diet for elderly.         2. Exercise CoPs consisted of 6 key points 1) Practice of exercise, 2) Exercise to lose weight in elderly with diabetes or obesity, 3) Type of exercise for healthy elderly, 4) Activities and Exercise in elderly daily life 5) Prohibition or exercise caution in elderly and 6) F.I.T.T.E (Frequency, Intensity, Time, Type, Enjoyment) exercise management for elderly health.         3. Emotions and stress management CoPs consisted of 5 key points 1) How to relieve stress 2) Increase happiness in daily life 3) Stress measurement and monitoring 4) Depression measurement and monitoring, and 5) How to practice spiritual meditation.         4. Medications CoPs for elderly consisted of 4 key points 1) Principles of drug use in elderly, 2) How to use drug correctly 3) Common behavior of drug abuse in elderly 4) Knowledge of medications frequently used in elderly, such as the medicine for the treatment of diseases, e.g. medications for hypertension, relieve anxiety or pain, and for muscle relaxant, vitamins supplements and herbal medicines.       5. Knowing disease and illness in elderly CoPs consisted of 6 key points 1) Chronic diseases such as hypertension, heart disease, diabetes and kidney disease, 2) Accident prevention in elderly 3) Falling or collapsing 4) Diseases of bone, joint and muscle 5) General health checkup for elderly 6) Dementia.        Conclusion The participatory action research using the knowledge management process reveals that the elderly, family member and community caregivers improve their health knowledge and health behaviors statistically significant, excepting for emotional management behavior of the elderly. In addition, knowledge management creates 5 community practitioners, namely the nutrition community. exercise, emotions and stress management, knowing medications, and knowing the disease and illness community practitioners in elderly.

Downloads