การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ

Authors

  • นันทวรรณ จินากุล
  • ดวงใจ จันทร์ต้น
  • รักษิณีย์ คำมานิตย์

Keywords:

การชี้บ่งอันตราย, ประเมินความเสี่ยง

Abstract

        วัตถุประสงค์ เพื่อชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการชีวภาพ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องปฏิบัติการปลอดภัยทางชีวภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาตามแนวทางเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล         วิธีการศึกษา ทำการประเมินระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางชีวภาพโดยใช้บัญชีรายชื่อเชื้อตามระดับความเสี่ยง ดำเนินการสำรวจห้องปฏิบัติการเพื่อบ่งชี้อันตรายโดยวิธี Checklist และประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี What if analysis และจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง          ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อกาวน์ หน้ากากอนามัย ถุงมือ หรือชุดปฏิบัติการภายนอกห้องหรือบริเวณห้องปฏิบัติการ การควบคุมแมลงและหนูไม่มีประสิทธิภาพเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 2 ก๊าซซึ่งอาจเป็นอันตรายถูกใช้ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 4 ไม่มีระบบทำความสะอาด ห้องปฏิบัติการ เป็นระดับความเสี่ยงระดับ 3 ไม่มีคู่มือกำจัดขยะและคู่มือกำจัดสิ่งปนเปื้อนเป็นระดับความเสี่ยง ระดับ 3 นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงมาจัดทำแผนการควบคุมความเสี่ยงหากเกิดเพลิงไหม้จากการรั่วไหลของก๊าซอันตราย          สรุป ก๊าซซึ่งอาจเป็นอันตรายและถูกใช้ในห้องปฏิบัติการที่มีการถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอจะมีความเสี่ยงสูงต่อผู้ที่ใช้งานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงลง และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร           Objective This study aims to identify the hazards and to evaluate the risks in biological laboratories, which is used as the guidelines for development the safety biological laboratory in Faculty of Pharmacy, Mahidol University by following the biosafety guidelines released fromThe center for occupational safety, health and environment management (COSHEM), Mahidol University.           Method The safety level of biological laboratories were evaluated using the microbial lists, classified by risk levels. Moreover, we surveyed other biological laboratories to identify hazards using checklist protocol. In addition, we also performed risk assessment using “what if analysis technique” and established a risk management plan.           Results The study revealed that laboratory workers wore coats, protective masks, gloves either outside or inside laboratory area. Additionally mice and insect controls are ineffective by classified as the risk level 2. Potentially harmful gas used in rooms were not adequatelyventilated by classified as the risk level 4. The lacking of laboratory cleaner was classified as the risk level 3. No waste disposal manual was classified as the risk level 3. The findings of risk assessment will be used to establish the risk management plan for the fire occurrence resultingfrom the release of harmful gas.           Conclusion Harmful gas used in biological laboratories with inadequate air ventilation has the high risk for scientific workers. It is essential to improve and revise laboratory’s policy in order to reduce the risk and create a culture of safety in an organization.

Downloads