ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

Authors

  • อาทิตยา อติวิชญานนท์

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, การล้างไต, ทางช่องท้อง, บทบาทพยาบาล

Abstract

        การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเป็นการบำบัดทดแทนไตที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและสะดวกต่อผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสามารถทำได้เองที่บ้าน แต่พบว่าผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้สูงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดจากตัวผู้ป่วยและการเจ็บป่วย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง ระยะเวลาในการล้างไตที่ยาวนาน การมีโรคร่วมอื่นๆ ขาดผู้ดูแลและขาดการสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้าส่งผลให้เกิดปัญหาในการจัดการตนเองลดลง เกิดภาวะแทรกซ้อนมีคุณภาพชีวิตลดลง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเกี่ยวกับสถานการณ์ของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง สาเหตุและผลกระทบของภาวะซึมเศร้า รวมถึงบทบาทพยาบาลในการป้องกันภาวะซึมเศร้า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาลและผู้ดูแลในการช่วยเหลือผู้ป่วยรวมทั้งครอบครัวเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้าเพื่อป้องกันและลดความรุนแรง เช่น การคัดกรองเบื้องต้น การดูแลรักษาทางการแพทย์ และการทำจิตบำบัดสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น          Continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) is recognized as effective, safe, and convenience to patients and their families for renal replacement therapy. However, literature review found that there were high rate of depression among CAPD patients. Many factors of depression associated with individual, illness, and treatment such as increasing age, reduce activity in daily living, long duration of CAPD, comorbidity, and lack care giver and social support. Depression influences to low self-management, prone to complication, lower quality of life, and higher mortality rate among CAPD patients. The objective of this article was to review about the situation of depression, causes and effects of depression, and roles of nurses related to depression among CAPD patients. The article will benefit to nurses and health care providersfor helping CAPD patients and their families to prevent and minimize depression such as early screening, medical treatment, psychotherapy, and adaptation as well as increase their quality of life.

Downloads