สถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
Keywords:
ความตระหนักรู้, การมีส่วนร่วมของชุมชน, โรคไข้เลือดออก, การแพร่โรคAbstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาของโรคไข้เลือดออกในชุมชน ของอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ครัวเรือนในเขตพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 207 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถาม ความตระหนักรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน และแบบสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลาย วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 99.05 มีความตระหนักรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 49.80 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง ร้อยละ 98.10 มีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอยู่ในระดับน้อย และ ผลการสำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนพบว่ามีค่า HI (house index) ร้อยละ 64.73 และมีค่า CI (container index) ร้อยละ 50.00 สรุป ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ทั้ง House Index (HI) และ Container Index (CI) ที่เป็นสาเหตุหลักของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนโดยรวม มีภาวะเสี่ยงตอการเกิดการแพรโรคไขเลือดออกมาก ดังนั้นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขสามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป Objective This study aimed to investigate the dengue hemorrhagic fever (DHF) situation in the community of Ban Bueng District, Chon Buri Province. Methods A sample of 207 households from Moo 1 Nongchak Sub-district, Ban Bueng District, Chon Buri Province were surveyed. A set of standardized questionnaires consisted of dengue hemorrhagic fever awareness, preventive behavior and community participatory prevention. The house index (HI, percentage of houses positive for larvae) and containers index (CI, percentage of containers positive for larvae) were identified for prevalence of dengue fever transmission. The data was analyzed by using descriptive statistics. Results The research found that almost all of the samples (99.05%) had high levels of dengue hemorrhagic awareness. Half of them (49.80%) had high and moderate levels of dengue hemorrhagic fever preventive behavior and the majority (98.10%) had low level of participation in dengue hemorrhagic fever prevention activities in the community. For the surveillance of vector in the community, it was found that 64.73 percent of houses infested with larvae (HI) and 50 percent of water-holding containers infested with larvae (CI). Conclusion Along with the higher house index (HI) and container index (CI) than standard criterion, as well as the moderate preventive behavior and low level of community participatory prevention activities, the community would increase a higher risk of DHF transmission. Therefore, the primary data from this study can be used to develop dengue hemorrhagic prevention model in this community.Downloads
Issue
Section
Articles