ผลลัพธ์ของการใช้เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบ เร็วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา ในผู้ป่วยติดเชื้อที่โรงพยาบาลบางปะกง

Authors

  • คมกฤช สุทธิฉันท์
  • มยุรี พิทักษ์ศิลป์
  • สมจิต พฤกษะริตานนท์
  • วัลลภ ใจดี

Keywords:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การนอนพักรักษาในโรงพยาบาล, อัตราการกลับมาโรงพยาบาล, อัตราการเสียชีวิต

Abstract

       วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิต อัตราการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อ อัตราการกลับมาโรงพยาบาลและระยะเวลานอนโรงพยาบาล ของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อคหลังได้รับการวินิจฉัยระหว่างการใช้เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว (qSOFA) และเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา (standard criteria)        วิธีการศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มเปรียบเทียบเป็นกลุ่มควบคุมในอดีต (historical control) กลุ่มศึกษา (prospective cohort group) ได้แก่ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการวินิจฉัยด้วย เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว ซึ่งเก็บข้อมูลไปข้างหน้าตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2560 จำนวน 49 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ (historical group) ได้แก่ ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อคทุกรายแบบย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 49 ราย โดยคัดผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ผู้ป่วยที่ปฏิเสธการใส่ท่อช่วยหายใจและการใช้ยากระตุ้นหลอดเลือดและหัวใจและผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาออก จากการศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความต่างระหว่างกลุ่มด้วย proportion different test (Z-test) และ Cox regression Breslow method for ties         ผลการศึกษา ผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีอัตราการเสียชีวิต (mortality rate) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ร้อยละ 4.87 (rate difference: RD = -4.87%;  95% confidence interval (CI) = -0.14, 0.04) มีอัตราการส่งตัวผู้ป่วยไป รักษาที่โรงพยาบาลอื่น (referral rate) มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 4.08 (RD = 4.08%); 95% CI = -0.12, 0.20) และมีอัตรากลับมาโรงพยาบาล (revisit rate) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ร้อยละ 5.40 (RD = -5.40%; 95% CI = -0.12, 0.01) ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับระยะเวลาการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มศึกษาจะมีโอกาสน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (hazard ratio (HR) = 0.57; 95% CI = 0.35, 0.93; p = 0.026)        สรุปผลการศึกษา การวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว (qSOFA) ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่าการวินิจฉัยด้วยเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา และมีอัตราการเสียชีวิตและอัตราการกลับโรงพยาบาลที่ลดลงแต่ยังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใช้เกณฑ์นี้จะทำให้มีอัตราการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ          Objective To compare the mortality rate, referral rate, revisit rate and length of stay in the hospital of sepsis and septic shock patients after diagnosed by quick Sequential (sepsis-related) Organ Failure Assessment criteria (qSOFA) and Chachoengsao’s Sepsis Screening criteria (as standard criteria)       Methods Analytical study with historical control group. Study group (n = 49) were patients who were diagnosed sepsis by qSOFA criteria from January 1 to April 30, 2017,  and patients who were diagnosed sepsis by Chachoengsao’s Sepsis Screening criteria from July 1 to December 31, 2016 as historical control group (n = 49). Data was analyzed by proportion different test (Z-test) and Cox regression Breslow method for ties.        Results Mortality rate in the study group was less than historical control group (RD = - 4.87%; 95% CI = -0.14, 0.04). Referral rate in study group was higher than historical control group (RD = 4.08%; 95% CI = -0.12, 0.20), and revisit rate was less than historical group (RD = -5.40%; 95% CI = -0.12, 0.01). All of these were not show statistically significant. The sepsis patients in study group were less likely to be hospitalized significantly (Hazard ratio (HR) = 0.57; 95% CI = 0.35, 0.93, p= 0.026).         Conclusion Sepsis patients whose diagnosed by qSOFA criteria were less likely to be hospitalized than patients those diagnosed by standard criteria. The qSOFA criteria could be decreased the mortality rate and revisit rate, and increased referral rate, but were not show statistically significant.

Downloads