ผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บต่อผลการรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงของเครือข่ายจังหวัด ปราจีนบุรี

Authors

  • ชาติชาย คล้ายสุบรรณ

Keywords:

ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ, อัตราการเสียชีวิต, อัตราเสียชีวิตเกินคาดหมาย, ผู้บาดเจ็บ, ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด

Abstract

        วัตถุประสงค์ ประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บที่มีต่อผลการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงของเครือข่ายจังหวัดปราจีนบุรี       วิธีการศึกษา การศึกษาแบบย้อนหลัง เปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงก่อนและหลังการพัฒนา ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ ก่อนพัฒนาระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 และหลังพัฒนาระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง กันยายน พ.ศ. 2560 ผลการดูแลรักษาที่สนใจ คือ อัตราการเสียชีวิตใน 30 วัน ระยะเวลาตั้งแต่ผู้บาดเจ็บมาห้องฉุกเฉินจนถึงเข้าห้องผ่าตัด (Door to Operating Room time) และอัตราตายเสียชีวิตเกินคาดหมาย        ผลการศึกษา ผู้บาดเจ็บก่อนพัฒนาจำนวน 547 รายและหลังพัฒนาจำนวน 668 ราย เมื่อเทียบกับก่อนพัฒนา อัตราการเสียชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรงลดลงจาก ร้อยละ 15.17 เป็นร้อยละ 10.03 (p = 0.02) ระยะเวลา Door to Operating Room time ลดลงจาก 89.85±20.1 เป็น 72.48±18.2 นาที (p = 0.001) Z statistic ที่คำนวณโดย Trauma and Injury Severity Score (TRISS) methodology พบว่าก่อนการพัฒนาได้ค่า อัตราตายของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีโอกาสรอดชีวิต 3.48 (p < 0.001) และ หลังการพัฒนาได้ค่าอัตราตายของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีโอกาสรอดชีวิต 1.98 (p = 0.04) แสดงให้เห็นว่าทั้งก่อนและหลังการพัฒนา มีอัตราการเสียชีวิตเกินคาดหมาย        สรุป การพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บสามารถลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึงลดระยะเวลาควร Door to OR time อย่างไรก็ตามยังมีอัตราการเสียชีวิตจริงมากกว่าอัตราการเสียชีวิตที่คาดหมายซึ่งชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้การดูแลผู้บาดเจ็บมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น         Objective To determine the effect of development of trauma system on outcome of major trauma patient in Prachinburi Province         Methods A retrospective cohort study was conducted before development, from October 2015 to September 2016, and then after development of trauma system, from October 2016 to September 2017. The outcome measurements were mortality rate, excess mortality (thedifference between observed and expected death as measured by the TRISS methodology), and Door to Operating Room (OR) time.         Results A total of 547 patients from the before-development group (BDG), and 668 patients from the after-development group (ADG) were identified. The mortality rate was significantly decreased from 15.17% to 10.03%, and the average Door to OR time was significantly declined from 89.85±20.1 to 72.48±18.2 (p=0.001) in ADG. Z statistic based on TRISS methodology was 3.48 (p<0.001) in BDG and 1.98 (p=0.04) in ADG indicated that both group had excess mortality.        Conclusions Development of trauma system in Prachinburi Province significantly decreased the mortality rate, and Door to OR time. However, the result of higher observed mortality than expected based on the TRISS methodology suggests that continuous quality improvement isnecessary for improving our trauma care.

Downloads