การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

Authors

  • นันทวรรณ จินากุล

Keywords:

การชี้บ่งอันตราย, ประเมินความเสี่ยง, สารเคมี, ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

Abstract

        วัตถุประสงค์ เพื่อชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องปฏิบัติการปลอดภัยทางเคมี ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล        วิธีการศึกษา ดำเนินการสำรวจห้องปฏิบัติการเพื่อชี้บ่งอันตรายโดยวิธี Checklist ตามแบบสำรวจ ESPReL Checklist ด้านระบบการจัดการของเสียสำหรับใช้ในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี Checklist โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงในเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล และจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนควบคุมความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงระดับ 2 แผนลดความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงระดับ 3 และ 4)        ผลการศึกษา พบว่า ไม่มีพื้นที่/บริเวณที่เก็บของเสียที่แน่นอนเป็นความเสี่ยงระดับ 2 เก็บของเสียประเภทไวไฟในห้องปฏิบัติการเกิน 10 gal (38 L) โดยไม่มีตู้สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะเป็นความเสี่ยงระดับ 4 ไม่กำหนดปริมาณรวมสูงสุดของของเสียที่อนุญาตให้เก็บได้ในห้องปฏิบัติการเป็นความเสี่ยงระดับ 3  ไม่ลดการเกิดของเสียด้วยการ reuse และ recycle เป็นระดับความเสี่ยงระดับ 2 และ ไม่มีการบำบัดของเสียก่อนทิ้งเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 3 นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงมาจัดทำแผนการควบคุมความเสี่ยง และแผนลดความเสี่ยง        สรุป แผนลดและความคุมความเสี่ยงระยะสั้น ได้แก่ แผนควบคุมเหตุฉุกเฉิน กำหนดมาตรการผจญเพลิงมาตรการจัดการกรณีเกิดอุบัติเหตุสารรั่วไหล การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ จัดทำคู่มือการกำจัดของเสียและประชาสัมพันธ์การทิ้งสารเคมีอันตราย จัดหาสถานที่รวบรวมของเสียส่วนกลาง ทำการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน แผนลดและความคุมความเสี่ยงระยะยาว ได้แก่ การลดความเสี่ยงโดยวิธีการควบคุมเหตุฉุกเฉิน การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต การกำหนดกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (call Tree) กำหนดแนวทางการตอบสนองเหตุการณ์และกอบกู้กระบวนการ จัดทำแผนความต่อเนื่อง (business continuity plan -BCP) อบรมให้ความรู้ เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทางเคมี ส่งเสริมให้ลดการใช้และลดการครอบครองสารเคมีอันตราย ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดการใช้สารเคมีอันตราย ส่งเสริมให้มีการนำสารเคมีกลับมาใช้ซ้ำและส่งเสริมให้มีระบบการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม           Objective To identify the hazard and evaluate the risk of chemical waste management in microbiology laboratory, which is used as the guidelines for improving the chemical safety laboratory in Faculty of Pharmacy, Mahidol University.          Methods We evaluated the hazard risks in laboratory using “checklist technique” referenced to ESPReL checklist document focusing on waste management system used in national research universities (NRUs) were evaluated. Moreover, “checklist technique” was also usedto evaluate the hazard probability and severity of related situation following the criteria of risk assessment in biological safety guidelines launched by the Center for Occupational Safety, Health and Environment Management (COSHEM), Mahidol University. Finally, we performed risk management plans and related documents (plan for controlling risk level 2 and plan for decreasing risk level 3 and 4) were performed.         Results We found that there was no specific area for storing waste (risk level 2). The laboratory did not have the proper cabinet for collecting more than 10 gal (38 L) flammable waste (risk level 4). The standard criteria of the amount of waste accepted for storing in laboratory was not mentioned (risk level 3). Moreover, we did not do reuse and recycle in waste management (risk level 2) and there was no protocol for treating waste before released (risk level 3). All of data collected above were used to announce the risk-controlling and risk-decreasing plan.          Conclusion The short-term plans for reducing and controlling risks are emergency-managing plan, fire-fighter procedures, chemical spill management, the record of emergency and accidental circumstances, the standard protocols for waste management and providing the proper information for eliminating chemical waste as well as finding out space(s) for centered waste collection. All plans should be evaluated every 3 months. Additionally, the long-term plans are emergency-controlling plan, the critically alert plan, the procedure for calling tree, how to response to critical situation and for procedure saver, launching business continuity plan, conducting the workshop for chemical laboratory safety, the reduction of using and occupying harmful chemicals, the changing of working processes to reduce harmful chemical usage, the recycle of chemicals and emphasizing the best practice of chemical waste management as well as the project for training staff in term of knowledge, understanding and evoking the positive attitude  to community and environment.

Downloads