การสำรวจการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว ในจังหวัดตาก : ความคาดหวัง การได้รับบริการ สุขภาพ และความพึงพอใจ ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล

Authors

  • วัสนา ศรีวิชัย

Keywords:

ระบบบริการสาธารณสุข, คลินิกหมอครอบครัว, ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ดูแล, ผลการดำเนินงาน, ความพึงพอใจ

Abstract

         บทนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และพัฒนาให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลในยุคนี้จึงปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิโดยจัดให้มีคลินิกหมอครอบครัว (PCC: primary care cluster) และดูแลตามหลักการเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณส่วนหนึ่งในการพัฒนานโยบาย ดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่โดยพัฒนาเครื่องมือในการสำรวจเพื่อทราบสถานการณ์การดำเนินงาน ที่ส่งผลโดยตรงสู่ประชาชน       วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะพึ่งพิง และเพื่อพัฒนาการประเมินผลการดำเนินงานเสนอแนวทางการเสริมพลังเพื่อสร้างความสำเร็จของนโยบายนี้ให้ยั่งยืน       วิธีการศึกษา การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามลักษณะทั่วไป ภาวะสุขภาพในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา คุณภาพและความพึงพอใจในการให้บริการโดยใช้ rating scale จาก 1 (น้อยที่สุด) ถึง 5 (มากที่สุด) กลุ่มประชากรเป้าหมายได้แก่ ประชากรที่ขึ้นทะเบียนกับคลินิกหมอครอบครัวในพื้นที่จังหวัดตาก ตัวอย่างคือผู้รับบริการสุขภาพซึ่งเป็นประชากรเป้าหมายของการดำเนินงานระยะแรกตามนโยบายคลินิกหมอครอบครัว ประกอบด้วยเป้าหมาย 4 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดบ้าน/ติดเตียงหรือผู้ดูแล 2) กลุ่มผู้พิการ 3) กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง และ 4) กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ดูแล ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ทำการเก็บตัวอย่าง โดยเก็บตัวอย่างในวันที่ผู้ป่วยมารับการรักษาที่คลินิกหมอครอบครัว ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 และสัมภาษณ์ผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: SD)        ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงสูงวัย (ร้อยละ 65.8) ที่มีภาวะพึงพิง ภาวะสุขภาพในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 51.6 อยู่ในสภาวะทรงตัว ร้อยละ 67.4 มีความคาดหวังว่าให้สุขภาพดีขี้น การได้รับบริการโรคเรื้อรังตามหลักการเวชศาสตร์ครอบครัวอยู่ในเกณฑ์ดีเกินร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการจัดบริการด้านสุขภาพด้านชุมชน และด้านสังคม รวมทั้งระบบการให้บริการสุขภาพ โดยมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.5 (เกณฑ์ 1-5) ทีมคลินิกหมอครอบครัวยังมีองค์ความรู้ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน        สรุป การจัดบริการคลินิกหมอครอบครัวให้แก่ประชาชนกลุ่มบุคคล 4 ประเภท ในระยะแรกเพื่อให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจปานกลางถึงมาก ส่วนการบริการดูแลโรคเรื้อรังอยู่ในเกณ์ดีเป็นจำนวนมาก และทีมทำงานยังมีความรู้ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ของทีมหมอครอบครัวทั้งด้านวิชาการ การจัดการ และสร้างแนวทางปฏิบัติให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและประกาศใช้ต่อไป ดังนั้นจึงควรพัฒนาบริการไร้รอยต่อโดยต่อยอดจากจุดเน้นผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุที่ดำเนินการได้ดีแล้วและกระตุ้นความคิด จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ประชาชนเห็นความสำคัญและร่วมมือในการดูแลสุขภาพตนเองและชุมชน รวมทั้งเผยแพร่ให้เป็นแบบอย่างแก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป         Background The 2017 Constitution of the Kingdom of Thailand requires the state to provide public with effective health services. The quality and standards of care must be continually improved. Thus, the Ministry of Health has reformed every levels of health service system.To strengthen primary health care system, primary care clusters (PCC) have been developed throughout the country, including Tak Province. Therefore, monitoring the performance of primary care clusters by developing a survey tool to understand the operational situation isneeded.        Objectives To study the performance outcome of primary care clusters in Tak Province and develop a performance appraisal for empowering to ensure the success of this policy.        Methods Survey study using questionnaire was done among target population who were registered with the two initially established PCC in Tak province. The four primary target populations of the PCC project were 1) the home-bound and/or bed-bound elderly or caregivers, 2) the disabled, 3) the chronically ill patients and 4) palliative group or caregivers. Convenience samples were selected during patient care at PCC between March 1, 2018 to April 30, 2018. For bed-bound elderly, disable and palliative group or caregivers were interviewed at home. Questionnaire consisted of personal characteristics of target groups, their health status during past 3 months, caregivers’ opinion, quality and satisfaction of health service using rating scale from 1 point (less satisfy) to 5 points (the most satisfy). The data was analyzed by using descriptive statistics.          Results Most of the samples were elderly female (65.8 %) with dependent status. During the past three months, health status was stable at 51.6 %. They expected to improve their health status at 67.4 %. Chronically ill patients were improved more than 80 %. They satisfied with the health services system provided in PCC, and the integrated community/society services at the average of more than 3.5 points.Conclusions The research revealed that the current Primary Care Cluster and the integrated community/society services in Tak Province can be judged as positive, where, the target groups are moderately to very satisfy with the service provided. It is recommended that the policyof seamless health services in primary care level should further focus its services on patients with chronic diseases, the elderly, caregivers, and the importance of health promotion and disease prevention.

Downloads