ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการสูญเสียมวลกระดูกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและแนวทางการดูแลเบื้องต้นด้านโภชนาการ

Authors

  • อลงกต สิงห์โต

Keywords:

เอชไอวี, กระดูก, อาหาร, โภชนาการ

Abstract

       ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความจำเป็นต้องรับประทานยาต้านเชื้อไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมปริมาณไวรัสในร่างกายไม่ให้สูงเกินไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส ปัจจุบันผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในสัดส่วนที่สูง อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่ายาต้านไวรัสที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรับประทานนั้นมีผลข้างเคียงหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในรูปแบบที่มักพบได้มากคือการเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกทั้งการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกและยับยั้งการดูดซึมวิตามินดีที่จำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียม เป็นต้น จากรายงานที่ผ่านมา พบว่า คนไทยทั่วไปมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมได้ไม่เพียงพอต่อคำแนะนำต่อวัน ดังนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านเชื้อไวรัสจึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกได้มากกว่าคนทั่วไป เนื่องมาจากผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส แนวทางการดูแลเบื้องต้นด้านโภชนาการสามารถทำได้โดยการส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นต่อมวลกระดูก ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส เพื่อเพิ่มโอกาสในการดูดซึมสารอาหารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ของนักกำหนดอาหารวิชาชีพสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการดูแลและส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยในอนาคตถึงประสิทธิผลของการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ และระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับ         People living with HIV (PLHIV) are needed to receiving the antiretroviral drug therapy (ART) to suppress the viral load level for preventing opportunistic infection. Nowadays, most of PLHIV in Thailand can accessed the health care service to receive the ART, however, reports showed that nutritional status of PLHIV can be affected by ARTs side effect. Bone loss, decrease of bone mass density, is the main outcome resulted from ART side effect usually found in PLHIV who receive long term ART. In addition, inadequate intake of calcium according to the guideline was repeatedly report in Thai people. Therefore, PLHIV with ART possibly are higher risk in bone loss than healthy people due to ART side effect. The basic nutritional care process to prevent bone loss is to encourage PLHIV to improve their nutritional habits. PLHIV need consuming food sources of calcium, vitamin D, magnesium, and phosphorus too. The Medical Nutritional Therapy (MNT) process conducted by the registered dietitian to support nutritional status of patients in variety diseases and conditions is one of the alternative way need to consider as using in nutritional support to improve bone health among PLHIV. However, further study is needed to investigate the effective of MNT and length of receiving the MNT to improve bone health among PLHIV.

Downloads