ภาวะขาดวิตามินดีในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • รัชนีพร ชื่นสุวรรณ
  • สมชาย ยงศิริ
  • เพ็ชรงาม ไชยวาณิช

Keywords:

เบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะขาดวิตามินดี, ภาวะดื้ออินซูลิน

Abstract

     บทนำ จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า การขาดวิตามินดี นอกจากมีผลต่อโรคทางด้านกระดูกและข้อแล้ว ยังส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่ มะเร็งบางชนิด โรคหลอดเลือดแดง และ เบาหวาน เป็นต้น     วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามินดีกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2     วิธีการศึกษา ทบทวนแฟ้มประวัติเวชระเบียนผู้ป่วยนอกคัดเลือกอาสาสมัครจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มา ตรวจรักษาที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 360 คน โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับวิตามินดี (25(OH)D)     ผลการศึกษา ค่าวิตามินดี 25 (OH)D เฉลี่ยของอาสาสมัคร อยู่ที่ 25.0±7.7 ng/ml โดยพบว่ามีอุบัติการณ์ ของภาวะขาดวิตามินดี ระดับ 25 (OH)D <20 ng/ml คิดเป็นร้อยละ 26.6 และมีภาวะพร่องวิตามินดีที่ระดับ 25 (OH)D 25-29 ng/ml คิดเป็นร้อยละ 48.8 และ พบ ดัชนี มวลกาย (BMI) (r = -0.123, p-value = 0.02) เส้นรอบเอว (waist circumference) (r = -0.0565, p-value = 0.28) HOMA-IR (r = -0.006, p-value = 0.91) ที่มากมีความสัมพันธ์ผกผันต่อระดับวิตามินดีหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามินดี ส่วนการทำงานของตับ (ALT) พบว่าประชากรร้อยละ 10.5 มีภาวะตับอักเสบจากไขมันพอกตับ (nonalcoholic fatty liver disease; NAFLD) โดยพบว่า ความดันโลหิต (DBP) (r = 0.159, p-value = 0.002) และ Fasting blood sugar (FBS) (r = 0.127, p-value = 0.016) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียว กับระดับวิตามินดี ส่วน insulin sensitivity (r = -0.186, p-value < 0.001) ระดับ Triglyceride (r = -0.138, p = 0.009) และ Time to DM (r = -0.182, p = 0.001) มีความสัมพันธ์ผกผันต่อการเกิดภาวะตับอักเสบจากไขมันพอกตับ NAFLD     สรุป พบภาวะขาดวิตามินดีในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 สูง โดยดัชนีมวลกาย (BMI) เส้นรอบเอว (waist circumference) และ HOMA-IR ที่มาก จะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะขาดวิตามินดีที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาล Fasting blood sugar (FBS) ที่สูง insulin sensitivity ที่ต่ำ และระยะเวลาการเป็นเบาหวานที่สั้นกว่าเพิ่มอุบัติการณ์ของภาวะไขมันพอกตับ     Introduction Current evidence suggests that vitamin D deficiency may contribute to an increased risk of type 2 DM.     Objective The aim of this study is to explore the relationship between vitamin D status and type 2 DM.     Material and Methods A cross-sectional study was conducted on 360 patients at the outpatient diabetes clinic of Burapha University Hospital. Patients were prospectively recruited, physically examined, submitted to laboratory investigations as well as given a vitamin D level assessment.     Results The mean level of 25(OH)D was 25.0 ± 7.7ng/ml. 26.6% of the patients had vitamin D deficiency; 48.8% had vitamin D insufficiency. After making adjustments for all variables, we found that body mass index (BMI) (r = -0.123, p-value = 0.02), waist circumference (WC) (r = -0.0565, p-value=0.28), and Homeostatic Model Assessment for Insulin Resistance (HOMA-IR) (r = -0.006, p-value = 0.91) had an inverted correlation to vitamin D levels. In terms of ALT levels, about 10.56% of the population had nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD). In addition, we found that diastolic blood pressure (DBP) (r = 0.159, p-value = 0.002) and fasting blood sugar levels (FBS) (r = 0.127, p-value = 0.016) correlated with the presence of NAFLD. In contrast, insulin sensitivity (r = -0.186, p-value < 0.001), triglycerides (r = 0.138, p = 0.009), and Time toDM (r = -0.182, p = 0.001), had inversely correlated with NAFLD.     Conclusion High prevalence of vitamin D deficiency was observed in our diabetic type 2 patients. After multivarious adjustments for all variables, high WC, high BMI, and high HOMA-IR were associated with an increased risk of vitamin D deficiency; while high FBS, low insulin sensitivity and short duration of a type 2 DM were associated with an increased risk of NAFLD.

Downloads