การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมบน พื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย

Authors

  • พรชัย จูลเมตต์
  • รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
  • ศศิธร กรุณา
  • วะนิดา น้อยมนตรี
  • นารีรัตน์ สังวรวงษ์พนา

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การฟื้นฟูสภาพ, การมีส่วนร่วม, ครอบครัว, เศรษฐกิจพอเพียง, ภูมิปัญญาไทย, Older adult and rehabilitation, Family participation, Sufficiency economy concept, Thai wisdom

Abstract

     วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย     วิธีการศึกษา การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 2 การประชุมระดมสมองเพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังผู้ดูแล ผู้บริหาร (นายกเทศมนตรี) ผู้นำชุมชน พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชน จำนวน 60 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มตามแนวสัมภาษณ์ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและประชุมระดมสมองกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย     ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการฟื้นฟูสภาพ ประกอบด้วย 6 กระบวนการ คือ 1) การกำหนดนโยบายการดูแลผู้สูงอายุของผู้บริหารและผู้นำชุมชน เป็นการกำหนดนโยบายการดูแลผู้สูงอายุไว้ในนโยบายการบริหารเทศบาล และผู้นำชุมชนกำหนดการดูแลผู้สูงอายุไว้ในแผนการดำเนินงานของชุมชน 2) การวางแผนร่วมกันของชุมชน เป็นการร่วมมือกันของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุ 3) การลงมือปฏิบัติตามแผน โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชนลงมือปฏิบัติตามแผนฯ ที่ได้กำหนดไว้ 4) การประเมินผลการปฏิบัติ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพ โดย ผู้สูงอายุ ครอบครัว ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขและพยาบาล 5) การติดตามความก้าวหน้าและการ ให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนและพยาบาลติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุและมีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว และ 6) ระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุอย่างครบวงจร โดยเทศบาลควรมีระบบการบริหารจัดการที่ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดการข้อมูลการเจ็บป่วยและความต้องการการฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุแต่ละราย การจัดการบุคลากรที่กี่ยวข้อง และการจัดการและการสนับสนุนอุปกรณ์การฟื้นฟูสภาพที่จำเป็น     สรุป การฟื้นฟูสภาพแก่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชนควรมีรูปแบบและกระบวนการ ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล การติดตาม และการจัดการแบบครบวงจร     Objective To develop a rehabilitation model for chronically ill older adults through family and community participation, based on the Sufficiency Economy concept from Thai wisdom.     Design, setting, and participants This developmental research study was divided into two steps: a) to interview a focus group; and b) to hold brainstorming meetings to develop said rehabilitation model. Sixty samples who were chronically ill older adults (and their caregivers), an administrator (the Mayor of the City), community leaders, nurses, health volunteers and district members in this selected community were recruited. Data was gathered through in-depth interviews with the focus group, following effective interview guidelines. Content analysis was performed for data, with an examination of all collected samples from the brainstorming techniques.     Results The rehabilitation model consisted of 6 processes: (1) a policy to take care of older adults by municipality administrators and community leaders (i.e., setting up an elderly care program into the municipal administration policy and community work plan; (2) planning for elderly rehabilitation by all relevant persons in the community; (3) the implementation of this plan by all relevant persons; (4) the evaluation of this plan by the elderly, family members, community leaders, health volunteers and nurses; (5) to monitor the progress and feedback from the health volunteers, community leaders and nurses – including the progress of the rehabilitation presented as feedback to the elders and their families; and (6) to complete the elderly rehabilitation administration system (which the municipality should manage). This system should include for each elder, his/her sicknesses and needs of rehabilitation, relevant personnel supervision, as well as the necessary rehabilitation equipment and necessary support of said equipment.     Conclusions Findings suggested all relevant personnel responsible for chronically ill older adults should implement and apply this proposed rehabilitation model for their clients in the community, so as to promote their health and prevent complications. Additionally, effectiveness of using this rehabilitation model is recommended for further study.

Downloads