รูปแบบการจัดการภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วยจากการทำงานของลูกเรือพาณิชย์
Keywords:
ภาวะสุขภาพ, การเจ็บป่วยจากการทำงาน, ลูกเรือพาณิชย์, Health status, Work-related illness, Commercial crewAbstract
วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาความเสี่ยงและศึกษาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน และพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะสุขภาพของลูกเรือพาณิชย์ในเขตน่านน้ำภาคตะวันออกของประเทศไทย วิธีการศึกษา ใช้การวิจัยเชิงพัฒนา ประชากร คือ ลูกเรือพาณิชย์ที่ทำงานบนเรือเดินสมุทรพาณิชย์ ในเขตน่านน้ำภาคตะวันออก ของประเทศไทย จำนวน 18,458 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ ดังนี้ 1) เป็นลูกเรือพาณิชย์ชาวไทยที่ทำงานบนเรือเดินสมุทรพาณิชย์ ในเขตน่านน้ำภาคตะวันออก ของประเทศไทย 2) เคยมีประวัติการเจ็บป่วยและได้รับการรักษาในห้องพยาบาล 3) สมัครใจเข้าร่วมการศึกษานี้ จำนวน 114 คน มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาความเสี่ยงและศึกษาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะสุขภาพ 3) การประเมินผลรูปแบบ เครื่องมือศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกและประเมินภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ลูกเรือพาณิชย์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (67.54%) อายุเฉลี่ย 30.8±5.08 ปี การเจ็บป่วยจากการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ คือ ปัญหาสุขภาพด้านการยศาสตร์ จากสภาพและท่าทางของการทำงาน ได้แก่ ปวดไหล่ (89.47%) ปวดแขน/ข้อศอก/ข้อมือ/มือ (85.96%) และ ปวดต้นขา/น่อง (79.82%) และปัญหาด้านจิตสังคม จากความวิตกกังวล/เครียดจากการทำงานบนเรือเป็นระยะเวลานาน (77.19%) ผลการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและสภาพการทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ มีสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย จากการทำงานในที่ที่อาจมีวัสดุสิ่งของตกหล่นทับได้ (80.70%) รองลงมา คือ ทำงานที่ต้องยกเคลื่อนย้ายวัสดุ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ (68.42%) และทำงานสัมผัสกับแก๊ส/ไอระเหยของสารเคมี (57.89%) พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของลูกเรือพาณิชย์ พบว่า ในภาพรวม มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ระดับปานกลาง (x= 3.62,SD = 0.83) รูปแบบการจัดการภาวะสุขภาพของลูกเรือเน้นการมีส่วนร่วม 4 ร่วมคือ ร่วมวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมสังเกตผล และร่วมสะท้อนผลการปฏิบัติ มีองค์ประกอบ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การระบุปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน 2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหา 3) การวางแผนและร่วมกำหนดกิจกรรมและโครงการในการจัดการปัญหาสุขภาพ 4) การดำเนินการตามแผนการจัดการภาวะสุขภาพ 5) การประเมินผลการดำเนินการ 6) การปรับปรุงแผนและดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่อง 7) การปฏิบัติจนเป็นนิสัยของการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง ในระดับมากที่สุด (x = 4.88, SD = 0.70) สรุป ลูกเรือพาณิชย์ชาวไทยทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยจากการทำงาน มีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการนำรูปแบบการจัดการภาวะสุขภาพนี้ไปใช้ค้นหาและป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงานของลูกเรือพาณิชย์ต่อไป Objectives The purpose of this research was to identify risks, to study work-related illnesses and to develop a management model of health status and illness among maritime commercial crews in the eastern sea boundary of Thailand. Materials and Methods A research and development method was used. 18,458 crew members working on merchant ocean liners in the eastern sea boundary of Thailand were enrolled in this study. 114 crews were selected based on the following criteria: 1) the risk analysis and study of diseases which occurred while working on board, 2) the development of a health management model and 3) the evaluation of that model. The tools used in this study includedhealth records, health assessment and questionnaires of risk behaviors related to work-related illnesses. Data underwent statistical analysis for frequency, percentage, mean and standard deviation. Qualitative data was analyzed on a content analysis basis. Results The study found that most of the maritime commercial crews were made up of males (67.54%), with an average age of 30.8 ± 5.08 years. In the past year, ergonomic health problems resulting from both working conditions as well as the manner of work included shoulder pain (89.47%), arm/elbow/wrist/hand pain (85.96%), thigh/calf pain (79.82%) as well as anxiety/stress from long periods on board (77.19%). The results of environmental analysis and working conditions found that most of the crew had unsafe working conditions. Ranking these working conditions includes being subjected to falling (80.70%), followed by the ergonomics of manual handling such as lifting, moving while lifting up, lifting down, pushing, pulling and dragging on a regular basis (68.42%). Likewise, contact with gases/vapors of chemicals such as solvents, acids and alkalis (57.89%), was identified as a work-related risk. The safety behaviors of the commercial crew were estimated at a moderate level (x=3.62, SD = 0.83) while working with concerns for security and following, at all times, the regulations of the highest of all safety behaviors. The model for the health management of commercial crews focused on participation in 4 co-operative parts, namely: co-planning, co-operating, co-observing and co-reflecting. This participatory health management model consisted of 7-steps, i.e.: 1) to first identify health issues related to work with a pre-occupational health assessment, to evaluate job characteristics associated with potential risk to health and workplace injury, to assess health status and health behavior during work, to assess risk and control of risk for seafarers and identify all health problems related to work on board; 2) to analyze the causes of problems and match solutions to the crew’s needs and lifestyles; 3) to plan and coordinate activities and projects towards managing health problems; 4) to implement the developed health management plan; 5) to evaluate the plan and its implementation; 6) to continuously improve upon the plan, and finally; 7) to create safe work habits from the continuous practice of the developed health management plan. The results of the evaluation of this model were found to be appropriate and applicable at the highest level (x= 4.88, SD = 0.70). Conclusion Thai maritime commercial crews currently work in unsafe working environments with high risks of work-related illnesses. Their current safety behavior is at a moderate level. Therefore, this model of health management shall be promoted to help identify and prevent future work-related illnesses among maritime commercial crews.Downloads
Issue
Section
Articles