ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้นด้วยโปรแกรมกลุ่มบำบัดในโรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
Keywords:
การส่งเสริมพัฒนาการ, เด็กสมาธิสั้น, โปรแกรมกลุ่มบำบัด, Development promotion, ADHD, Children, Group activities programAbstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้นด้วยโปรแกรมกลุ่มบำบัด วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยประชากรคือ เด็กสมาธิสั้นและผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้น จำนวน กลุ่มละ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 โปรแกรม คือ โปรแกรมที่ 1 สอนสาธิต การนวดดัดยืด กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อของแขนและขา ฝึกกระโดด ฝึกเดินบนสะพาน ฝึกระบบทรงตัวบนลูกบอลและฝึกสหสัมพันธ์ของแขน ขา โดยเวียนสอนสาธิตให้ครบทุกคน ทุกสัปดาห์ ครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้มีความพร้อมในการทำกิจกรรมทั้งการเล่น การเรียน และการทำกิจวัตรประจำวันโปรแกรมที่ 2 คือ โปรแกรมฝึกทักษะการรับรู้และกิจวัตรประจำวัน โดยเน้นกล้ามเนื้อมือ ตา มัดเล็ก ผ่านการตัดแปะ ฉีก ด้วยวัสดุที่เป็นกระดาษ และมีกิจกรรมดนตรีบำบัดเพื่อเสริมทักษะด้านการเลียนแบบ การเต้นเข้าจังหวะและการฝึกควบคุมตนเองในกลุ่ม โดยจัดเดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 เดือน และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เรื่องวิธีการกระตุ้นพัฒนาการ(กลุ่มบำบัด) แบบประเมินกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็ก แบบประเมินค่าคะแนนพัฒนาการของเด็กพิเศษไมล์สโตน และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ปกครอง ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน 2560 ถึงเดือนกันยายน 2560 เป็นเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมในเดือนที่ 6 1) เด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการรวมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -8.260, p < 0.001) 2) เด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.075, p < 0.001) 3) เด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.430, p < 0.001) 4) เด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาและการสื่อสารดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.430, p < 0.001) 4) เด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการด้านกิจวัตรประจำวันและการช่วยเหลือตนเองดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t = -8.304, p < 0.001) 5) เด็กสมาธิสั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการด้านสังคมอารมณ์และพฤติกรรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -9.522, p < 0.001) 6) 6) ผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องวิธีกระตุ้นพัฒนาการ (กลุ่มบำบัด) ดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (46.66±10.28, 75.55±10.42, p < 0.001) ตามลำดับ สรุป โปรแกรมกลุ่มบำบัดสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กสมาธิสั้นทั้งด้านร่างกาย ความเข้าใจภาษาและการสื่อสาร ด้านกิจวัตรประจำวันและการช่วยเหลือตนเอง รวมทั้งด้านสังคม อารมณ์และพฤติกรรม โดยผู้ปกครองมีความรู้เรื่องวิธีการกระตุ้นพัฒนาการให้แก่เด็กสมาธิสั้นได้ ซึ่งจะมีประโยชน์แก่ผู้ปกครองและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง Objective This quasi-experimental research aimed to examine the effects of programs based on group activity techniques (Group Activities Program), to promote development in a selection of 18 ADHD children and their parents, who were then patients at the Queen Savang Vadhana Memorial Hospital in Chonburi, Thailand. Materials and Methods We organized group activities for ADHD children into two programs: The first program consisted of demonstrating stretching exercises to promote proprioceptive senses in the arms and legs, jumping on two legs, jumping on one leg, walking on a balance beam, slow rocking on therapy balls as well as training of coordination between arms and legs. This first program took place every week for two hours. The second program was conducted every month for four hours, and consisted of perception training with activities from daily life. Music therapy was also introduced. Data for each child’s behavior was recorded on forms, including, an assessment form for the results of the treatment, and an assessment form for the basic developmental progress from the group activities. The implementation and collection of data from these programs was conducted from April to September, 2017. Statistics extractedfor analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation as well as paired t-tests. Results At 6-months after entering this Group Activities Program, 1) ADHD children had statistically significant higher total mean scores of results 1-5 (t = -8.260, p < 0.001, respectively); 2) ADHD children had statistically significant higher mean scores of gross motor skills than before participating in the group activities (t = -4.075, p < 0.001, respectively); 3) ADHD children had statistically significant higher mean scores of fine motor and coordination skillsthan before (t = -7.430, p < 0.001,respectively); 4) ADHD children had statistically significant higher mean scores of daily living and self-care activities than before (t = -8.304, p < 0.001, respectively); 5) ADHD children had statistically significant higher mean scores of social, emotional and behavioral skills (t = -9.522, p < 0.001, respectively; and 6) the ADHD children’s parents also had statistically significant higher mean scores of knowledge about such group activities than before (46.66 ± 10.28, 75.55 ± 10.42, p < 0.001, respectively). Conclusion This study has suggested that health care providers and parents should continuously apply for group activity programs to activate development and developmental skills among ADHD children.Downloads
Issue
Section
Articles