แบบสอบถามคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยชนิด SARC-F มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุไทย

Authors

  • ปราโมทย์ ธนาศุภกรกุล
  • อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ
  • วัลลภ ใจดี
  • อัจฉรา ปัญญามานะ
  • สินีนาฏ ทะรารัมย์

Keywords:

มวลกล้ามเนื้อน้อย, สมรรถภาพทางกาย, ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ, Sarcopenia, Physical performance, Muscle strength, Elderly

Abstract

     วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนน SARC-F กับสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา และดัชนีมวลกล้ามเนื้อที่ตรวจด้วยเครื่อง DXA ของผู้สูงอายุไทย     วิธีการ ศึกษาเปรียบเทียบคะแนน SARC-F โดยใช้แบบสอบถามประเมินมวลกล้ามเนื้อ กับสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา และดัชนีมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มาตรวจมวลกล้ามเนื้อที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาด้วยเครื่อง DXA และสามารถเดินได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องพยุง โดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม SARC-F ตรวจสมรรถภาพทางกายด้วยวิธีการ Timed Up and Go (TUG) และ 6 meter gait speed test ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขาด้วยอุปกรณ์ วัดแรงกล้ามเนื้อ (dynamometer)    ผลการศึกษา ผู้สูงอายุจำนวน 187 คน อายุเฉลี่ย 65.9 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) เป็นเพศหญิง ผู้สูงอายุที่มี มวลกล้ามเนื้อน้อย (คะแนน SARC-F มากกว่า 4) เปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อปกติ (คะแนน SARC-F 0-4) พบว่าผลการตรวจสมรรถภาพทางกายด้วยวิธี TUG นานกว่า (21.8, SD 8.1 วินาที เปรียบเทียบกับ 10.7, SD 3.7 วินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0000) ผลการตรวจ 6 meter gait speed test ช้ากว่า (3.7, SD 2.6 เมตรต่อวินาที เปรียบเทียบกับ 1.5, SD 1.4 เมตรต่อวินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0000) และผลการตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขา ที่วัดค่าแรงบีบมือได้น้อยกว่า (7.3, SD 4.5 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับ 10.3, SD 4.0 กิโลกรัม), p = 0.0004 และค่าแรงเหยียดขาน้อยกว่า (2.3, SD 3.7 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับ 6.4, SD 5.9 กิโลกรัม), p = 0.0000 ส่วนดัชนีมวลกล้ามเนื้อระยางค์ไม่พบความแตกต่างกัน     สรุป แบบสอบถามคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยชนิด SARC-F มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุไทย     Objective To evaluate the correlation between SARC-F scores, physical performance, muscle strength and relative skeletal muscle indices in older Thai adults.     Materials and Methods The current study recruited male and female patients over 60 years old who were then receiving treatment at Burapha University Hospital. These patients could walk without any walking aids. The clinical data was collected from January to July, 2017. Specifically, three factors of the examinations were administrated: X-ray screening by DEXA, and the measurements of muscle strength as well as physical performance, respectively.     Results One hundred and eighty-seven patients took part in this study, with the overall age range between 65 and 69 years old, and average weight between 56 and 63 kilograms. Of the 187 patients, 159 of them (85%) were female. According to the AWGS (Asian Working Group for Sarcopenia) the definition of sarcopenia is < 5.4 kg/m2, with a SARC-F score < 4 points. Physical performance was assessed with a Timed Up and Go test (TUG), and revealed a 6-m gait speed at 10.7 SD 3.7 seconds for the normal group, but was 21 SD 8.1 seconds in the sarcopenic group. The 6-m gait speed showed 1.5 SD 1.4 m/seconds in the normal group, but 3.7 SD 2.6 m/seconds in the sarcopenic group. In addition, the muscle strength test (tested with a grip dynamometer) revealed that the average grip strength score in the normal group was 10.3 SD 4 kg, compared with 7.3 SD 4.5 kg in the sarcopenic group.    Conclusions The results revealed a lower physical performance and reduced muscle strength in sarcopenia patients in comparison to the normal group. This evidence also suggests a higher risk of fall incidents in patients with sarcopenia.

Downloads