ผลของท่าทางการกางสะโพกต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Vastus Medial Oblique (VMO) และ Vastus Lateralis (VL) ขณะออกกำลังกายท่าแพลงค์คว่ำ

Authors

  • พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต
  • ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
  • นงนุช ล่วงพ้น

Keywords:

แพลงค์, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, สัดส่วน VMO, VL, ท่าทางสะโพก, Plank, Electromyography, VMO, VL ratio, Hip position

Abstract

     บทนำ การออกกำลังกายท่าแพลงค์คว่ำ (prone plank) ช่วยเพิ่มความมั่นคงของแกนกลางลำตัว (core stability) ได้ และมีผลต่อการทำงานของรยางค์ล่างไปจนถึงข้อเท้า การลดลงของ core stability จะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บข้อเข่าเนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อ vastus medialis oblique (VMO) และ vastus lateralis (VL) ทำงานลดลง โดยในการออกกำลังกายท่าแพลงค์คว่ำจะสามารถช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและรอบข้อสะโพกได้     วัตถุประสงค์ เพื่อวัดสัดส่วนการทำงานของ VMO : VL ขณะแพลงค์คว่ำด้วยท่าทางกางสะโพกที่แตกต่างกัน     วิธีการศึกษา ศึกษาในอาสาสมัคร 20 คน โดยวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Surface Electromyography : sEMG) ของกล้ามเนื้อ VMO : VL ในท่าแพลงค์คว่ำขณะข้อสะโพกหุบ (adduction) ข้อสะโพกอยู่ในแนวกลาง (neutral position) และข้อสะโพกกาง (abduction)     ผลการศึกษา พบว่าท่าทางของข้อสะโพกที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อสัดส่วนการทำงานของ VMO : VL ของขาทั้ง2 ข้าง และค่า VMO : VL ของขาทั้ง 2 ข้างไม่แตกต่างจาก 1.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)     สรุป การออกกำลังกายในท่าแพลงค์คว่ำสามารถส่งเสริมให้เกิดสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อ VMO : VL ของขาทั้งสองข้าง     Introduction Prone plank exercises improve overall core stability. However, decreased core stability may cause knee injury, specifically anterior knee pain – for example, anterior cruciate ligament injury, resulting in knee injuries caused by hip muscles, and general knee muscle weakness [especially vastus medialis oblique (VMO) and vastus lateralis (VL)].     Materials and Methods A cross-sectional study was performed with 20 healthy volunteers carrying out prone plank exercises, using surface electromyography to measure the subject’s VMO and VL during hip adduction, hip abduction as well as with the hip in neutral position.      Results Prone plank exercises with different hip positions did not generate statistically significant differences in VMO : VL ratios for both of the subject’s legs while in different hip positions (p < 0.05). As well, VMO : VL ratios of both legs in all groups was not statistically different from 1.0 (p < 0.05).     Conclusions Prone plank exercises could promote muscle activation of VML : VO for both of the subject’s legs.

Downloads