การลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

Authors

  • จารุวรรณ กิตติวราวุฒิ

Keywords:

อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ, โรคหลอดเลือดสมอง, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, Spasticity, Stroke, Rehabilitation

Abstract

     อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่พบร่วมได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ยากลำบาก การรักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีประสิทธิภาพและช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพาผู้ดูแลให้น้อยที่สุด การพิจารณาการรักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเกร็งและเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวันหรือไม่และการรักษามีหลายวิธี ควรเลือกใช้วิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาก่อนเป็นอันดับแรกหากยังไม่สามารถลดอาการเกร็งได้เป็นที่น่าพอใจจึงพิจารณาการใช้ยาหรือวิธีการอื่นๆ ร่วมในการรักษา ซึ่งจะเลือกใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของอาการเกร็งและข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์ผู้ทำการรักษาจึงควรพิจารณาอย่างรอบด้านเพื่อเลือกวิธีการลดเกร็งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวิธีการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง     Spasticity is a condition commonly found in stroke patients. This condition limits these patients from carrying out their daily activities. Rehabilitation that aims to reduce spasticity is a significant factor for the effectiveness of treatment. It can help patients to restore muscular functions, making them much more independent. The severity of the patient’s spasticity, and the degree to which day to day activities become an obstacle, indicates the management needed for this condition. Therefore, physical treatment with a multidisciplinary approach should be considered as the first priority. If significant spasticity persists, medical treatment (or an additional technique) should be considered according to the type of spasticity as well as the seriousness of the patient’s limitations. The physician should carefully assess a suitable treatment method giving the most benefit to the patient. This article is designed to review the variety of treatment methods for reducing spasticity in adults with stroke.

Downloads