ผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาลที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

Authors

  • วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
  • เอนก สูตรมงคล

Keywords:

การฝึกแบบอินเทอร์วาล, กล้ามเนื้อ, พนักงาน, พื้นที่อับอากาศ

Abstract

          วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนักร้อยละ 70-75 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้า          วิธีการศึกษา วิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของโรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ทำการฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนักร้อยละ 70-75 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเป็นเวลา 3 นาทีสลับกับช่วงพัก 3 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จำนวนเซตในการฝึก สัปดาห์ที่ 1-4 ฝึก 5 เซต รวมเวลาการฝึกวันละ 30 นาที สัปดาห์ที่ 5-8 ฝึก 6 เซต รวมเวลาการฝึกวันละ 36 นาที ตัวแปรที่ศึกษาคือ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ (ทดสอบด้วยวิธี Astrand-Rhyming test) และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (ทดสอบด้วยวิธีการวัดแรงเหยียดขา) ข้อมูลที่ได้ก่อนและหลังการฝึกถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) นัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ 0.05          ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกแบบอินเทอร์วาลเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ค่าความ สามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเพิ่มขึ้นจาก 26.72 (SD 5.88) เป็น 30.66 (SD 6.16) มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวต่อนาที ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเพิ่มขึ้นจาก 1.77 (SD 0.58) เป็น 2.25 (SD 0.53) กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว          สรุป จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สรุปได้ว่า ภายหลังการฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนักร้อยละ 70-75 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถพัฒนาค่าความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้และค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศให้เพิ่มขึ้นได้           Objectives To study the effects on maximum oxygen uptake and muscular strength during an interval training program at 70 – 75 percent maximum heart rate. (MHR)           Methods A sample group of twenty-eight volunteers (all Bangpakong Power Plant workers with duties requiring them to work within confined spaces), participated in this study. The interval training program exerted the subjects for three minutes at 70 -- 75 % MHR, with three-minute recovery periods at heart rates under 50 % MHR. The interval training program took place three days a week for an eight-week training period. The participants trained in 5 sets for the first four weeks (thirty minutes per day), and 6 sets in the last four weeks (thirty-six minutes per day). The Astrand-Rhyming test and Leg strength tests were used to measure maximum oxygen uptake (VO2max) and muscular strength, respectively. A dependent t-test was utilized for pre-training and post-training data analysis, with the significance level set at 0.05.            Results The results showed that after 8 weeks of interval training, the maximum oxygen uptake rates revealed statistically significant increases from 26.72 (SD 5.88) to 30.66 (SD 6.16) ml/kg-1/min-1. Additionally, measurements of muscular strength showed statistically significant increases from 1.77 (SD 0.58) to 2.25 (SD 0.53) kg-1/weight (for leg strength).            Conclusion It was found that after 8 weeks of the interval training program at 70 – 75 % maximum heart rate, maximum oxygen uptake and muscular strength in people working within confined spaces have predominantly improved.

Downloads