ภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมจากท่อล้างไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยวิธีทดแทนไตด้วย การล้างไตทางช่องท้องถาวรที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
Keywords:
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, ล้างไตทางช่องท้อง, ภาวะแทรกซ้อน, การล้างไตAbstract
ความเป็นมา ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการฟอกไตในประเทศไทยนั้นประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการล้างไตทางหน้าท้องซึ่งต้องอาศัยการผ่าตัดใส่ท่อล้างไตทางหน้าท้องถาวร ซึ่งการฟอกไตวิธีนี้มักมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อในช่องท้อง ท่อล้างไตทำงานผิดปกติ และโรคไส้เลื่อนเป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยการผ่าตัดแก้ไขภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางคลินิก และปัจจัยที่มีผลในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมที่ต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อล้างไตทางหน้าท้องถาวรที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วัสดุและวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อล้างไตทางหน้าท้องถาวรที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูล เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูงโรคประจำตัว การใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด เทคนิคและตำแหน่งการผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด ระยะเวลาที่เริ่มใช้ท่อล้างไตช่องท้องถาวรหลังผ่าตัด ปริมาณน้ำที่ใส่ในช่องท้องระหว่างการล้างไตทางหน้าท้อง และภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมที่พบ มาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรม ผลการศึกษา มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 156 ราย อายุเฉลี่ย 59.5 ปี (19-89 ปี) ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.3 อยู่ในช่วง อายุ 40 ถึง 60 ปี ค่าดัชนีมวลกาย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงปกติ (ร้อยละ 64.7) มีการใช้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือดพบร้อยละ 12.8 มีโรคเบาหวานร่วมด้วย ร้อยละ 12.8 เทคนิคการผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นการ ผ่าตัดเปิดช่องท้องใต้สะดือ (ร้อยละ 79.5) ใช้เวลาการผ่าตัดส่วนใหญ่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ร้อยละ 95.5 การใช้ ล้างไตผ่านทางช่องท้องครั้งแรกส่วนใหญ่ใช้หลังจากครบ 7 วันขึ้นไปหลังผ่าตัด (ร้อยละ 97.4) และปริมาณของน้ำยาล้างไตทางช่องท้องส่วนใหญ่อยู่ที่ 1.5 ลิตร ร้อยละ 58.9 พบภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมทั้งสิ้น 78 ราย (ร้อยละ 50) ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อ (ร้อยละ 29.5) (1 ครั้งต่อ 28.8 เดือนของผู้ป่วย) การทำงานผิดปกติของท่อล้างไตร้อยละ 14.1 โรคไส้เลื่อนร้อยละ 4.5 พบตัวแปรที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อคือโรคเบาหวาน odds ratio = 2.78 (95% CI 1.068 - 7.224), p = 0.036 ตัวแปรที่สัมพันธ์กับโรคไส้เลื่อนคือโรคเบาหวาน odds ratio = 11.08 (95% CI 2.273 - 54.040), p = 0.003 เพศหญิง odds ratio = 10.42 (95% CI 0.584-185.913), p = 0.111 ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ถึง 40 กก./ม.2 odds ratio = 11.75 (95% CI 1.786 - 77.297), p = 0.010 ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก./ม.2 odds ratio = 17.63 (95% CI 1.312 - 236.844), p = 0.030 และการเริ่มใช้ท่อล้างไตทางช่องท้องน้อยกว่า 7 วันหลังผ่าตัด odds ratio = 29.40 (95% CI 3.414 - 253.191), p = 0.002 สรุป ภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตผ่านทางช่องท้อง พบภาวะติดเชื้อ การทำงานของท่อล้างไตผิดปกติและโรคไส้เลื่อนเป็น 3 อันดับแรกที่พบ โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ต้องการการผ่าตัดเอาท่อล้างไตทางหน้าท้องออกในการรักษา และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไส้เลื่อนที่ต้องการการผ่าตัดซ่อมแซมผนังหน้าท้อง เพศหญิง ดัชนีมวลกายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 29.9 กก./ม.2 และการเริ่มใช้ท่อล้างไตทางหน้าท้องที่น้อยกว่า 7 วันหลังผ่าตัด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไส้เลื่อนที่ต้องการการผ่าตัดซ่อมแซมผนังหน้าท้อง Background Half of all end stage renal disease patients in Thailand undergo continuous ambulatory peritoneal dialysis. They need surgical intervention for the placement of a permanent catheter. This type of renal replacement therapy carries with it many surgical complications, including peritonitis, catheter malfunction and hernia – all of which require surgical treatment. Objective To analyze the clinical characteristics and factors associated with the above mentioned surgical complications, as a result of the needed peritoneal catheter placement in patients with end stage renal disease, and who have undergone continuous ambulatory peritoneal dialysis at Burapha University Hospital. Materials and Methods Data from the medical records of patients with end stage renal disease who underwent peritoneal catheter placement at Burapha University Hospital (between August 1st, 2010, to July 31, 2016), was analysed to find the factor or factors that influenced the surgical complication. This data included sex, age, body weight, height, underlying disease, use of anticoagulants or antiplatelet drugs, surgical technique, operating time, onset of first peritoneal dialysis after catheter placement, volume of dialysate as well as the surgical complication itself. Results One hundred and fifty-six patients were recruited, with a mean age of 59.5 years (19-89 years), of which 58.3% fell between 40 to 60 years old. The majority of the patients presented a normal body mass index (64.7%). 12.8% were using anticoagulants or antiplatelets. Additionally, 12.8% of the patients had diabetes mellitus. For the catheter placement, 79.5% were below the umbilical incision, and most had an operating time under 1 hour (95.5%). The first peritoneal dialysis was given mostly more than 7 days after surgery (97.4%), with a dialysate volume mostly 1.5 litres (58.9%). Of the 156 patients, 50% presented surgical complications (78 patients), with the highest incidence being infection (29.5%) (28.8 patient-month), while catheter malfunctions were at 14.1%, and hernias at 4.5%. Factors associated with infection included diabetes mellitus: odds ratio = 2.78 (95% CI 1.068 - 7.224), p = 0.036. Factors associated with hernia also included diabetes mellitus: odds ratio = 11.08 (95% CI 2.273 - 54.040), p = 0.003, female: odds ratio = 10.42 (95% CI 0.584 - 185.913), p = 0.111, body mass index 30 to 40 kg/m2: odds ratio = 11.75 (95% CI 1.786 - 77.297), p = 0.010, body mass index more than 40 kg/m2: odds ratio = 17.63 (95% CI 1.312 - 236.844), p = 0.030, with the first peritoneal dialysis administered less than 7 days after surgery: odds ratio = 29.40 (95% CI 3.414 - 253.191), p = 0.0021. Conclusion The three main surgical complications of patients with end stage renal disease, who were also using continuous ambulatory peritoneal dialysis, were infection, catheter malfunction and hernia. Patients with diabetes mellitus were at an increased risk of infection, given the need for surgical removal of the catheter and an increased risk of hernia requiring surgical repair. The female sex, body mass index 29.9 kg/m2 and above and administering the first peritoneal dialysis earlier than 7 days after surgery increased this risk of hernia in peritoneal dialysis patient.Downloads
Issue
Section
Articles