ความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ต่อรูปแบบการฝึกซักประวัติผู้ป่วยจำลองในโครงการปฐมนิเทศนิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Authors

  • ธนพล สิงคะปะ
  • กรองกาญจน์ บุญครอง
  • สิริรัตน์ แก้วเกตุ
  • รุจาภา เพชรเจริญ

Keywords:

นิสิตแพทย์, การซักประวัติ, แพทยศาสตร์ศึกษา, ผู้ป่วยจำลอง

Abstract

          บทนำ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมการฝึกซักประวัติในผู้ป่วยจำลองในโครงการปฐมนิเทศนิสิตแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ก่อนการปฏิบัติงานจริงในชั้นคลินิก          วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ต่อรูปแบบการฝึกซักประวัติผู้ป่วยจำลองในโครงการปฐมนิเทศนิสิตแพทย์ ปีการศึกษา 2560           วิธีการศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4และ 5 ปีการศึกษา 2560 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกซักประวัติผู้ป่วยจำลอง เก็บข้อมูลจากเรียงความของนิสิตแพทย์และการสัมภาษณ์เชิงลึกภายหลังจากการฝึกปฏิบัติจริงบนหอผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี SCAT          ผลการศึกษา ความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ต่อรูปแบบการฝึกซักประวัติผู้ป่วยจำลองในโครงการปฐมนิเทศนิสิตแพทย์ คือ การเรียนรู้และทบทวนทักษะการซักประวัติเบื้องต้น เกิดความคิดที่เป็นระบบ มีแนวทางการวางตัวที่เหมาะสม เพิ่มความมั่นใจ เข้าใจจิตใจผู้ป่วย เห็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง การมีรุ่นพี่เข้าร่วมกิจกรรมก่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ซึ่งหลังผ่านการปฏิบัติงานจริง นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ากิจกรรมนี้เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการเรียนและปฏิบัติงานจริงของนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก          สรุป รูปแบบการฝึกซักประวัติผู้ป่วยจำลองนี้ ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจต่อทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนและการปฏิบัติงานในชั้นคลินิกให้แก่นิสิตแพทย์           Introduction Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital’s Medical Education Center has implemented a training model on medical history as part of the orientation program for 4th year medical students who are preparing for their real, hands-on training in clinical rotation.          Objective To study the opinions of medical students undergoing a training model on the history of medicine in their orientation program in 2017.          Materials and Methods This research undertaking was a qualitative study. The key informants were 4thand 5th year medical students in 2017, who participated in a new training program in the history of medicine. In-depth interviews with these students, upon the completion of their clinical rotation (as well as reflective papers), supplied the data for this research. The SCAT method was implemented to analyze the data.          Results The opinions from these medical student safter haven taken the training model in medical history during their orientation program included not only a more equipped systematic thinking process, an increase in confidence and affirmative attitude, and a better understanding of patient feelings; but, also the study and review on the basics of clinical history, which can promote opportunities for self-development. Futhermore, a good relationship occurred between the senior and junior year clinical students throughout the training period. After the students went through their clinical rotation, most participants agreed that this activity was very necessary.          Conclusion A training model in the history of medicine helps medical students increase their essential studying skills during their clinical rotation.

Downloads