การเปรียบเทียบผลของสารตกค้างจากน้ำยาทำความสะอาดต่อการทดสอบเชื้อจุลินทรีย์

Authors

  • เมธี ศรีประพันธ์
  • นันทวรรณ จินากุล

Keywords:

สารตกค้าง, สารทำความสะอาด, น้ำยาล้างเครื่องแก้ว

Abstract

         วัตถุประสงค์ เปรียบเทียบผลของสารตกค้างจากน้ำยาทำความสะอาดเครื่องแก้วชนิดต่างๆ รวมถึงศึกษาวิธีการล้างเครื่องแก้วที่ส่งผลต่อการทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา         วิธีการศึกษา ใช้ตัวอย่างน้ำยาทดสอบได้แก่ 1) น้ำยาล้างเครื่องแก้ว ในห้องปฏิบัติการที่มีความเข้มข้น 2.0% (ชนิด A) ซึ่งมีส่วนผสมของ polyethylene glycol dodecyl และ ethylene oxide 2) น้ำยาล้างจานที่มีความเข้มข้น 2.0% (ชนิด B) ซึ่งมีส่วนผสมของ linear alkyl benzene sulfonate, potassium salt และ sodium lauryl ether sulfate และ 3) ผงซักฟอก ที่มีความเข้มข้น 0.5% (ชนิด C) ซึ่งมีส่วนผสมของ anionic surfactant, zeolite, sodium carbonate, sodium carboxymethyl และ cellulose ทดสอบวิธีการล้างกับจานเพาะเชื้อ (glass petri dishes) โดยมีวิธีการล้าง 5 วิธี ได้แก่ ไม่ล้างน้ำยาออก ล้างผ่านน้ำสะอาด 1 ครั้ง ล้างผ่านน้ำสะอาด 3 ครั้ง ล้างผ่านน้ำสะอาด 6 ครั้ง และล้างผ่านน้ำสะอาด 12 ครั้ง โดยใช้ sterile glass petri dishes เป็นกลุ่มควบคุม ทดสอบความเป็นกรด-ด่างของสารตกค้างจากน้ำยาในวิธีการล้างแบบต่างๆ โดยใช้ 0.04 % Bromthymol blue นอกจากนี้ใช้เชื้อมาตรฐาน 50-100 CFU/mL Staphylococcus aureus (ATCC 6538) เพื่อศึกษาการเจริญของเชื้อโดยวิธี Pour plate method จากนั้น รายงานจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ (CFU/mL) เป็นค่าเฉลี่ยของจำนวนแบคทีเรียและค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean ± SEM) วิเคราะห์เชิงสถิติโดยใช้โปรแกรม IBM® SPSS® version 23 และ GraphPad Prism® version 6.01 โดยค่า p < 0.05 แสดงนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%          ผลการศึกษา น้ำยาชนิด A มีคุณสมบัติเป็นด่างและเปลี่ยนเป็นกลางหลังการล้าง 3 ครั้ง ในขณะที่น้ำยาชนิด B มีคุณ สมบัติเป็นกรดและเปลี่ยนเป็น กลางภายหลัง การล้าง 3 ครั้ง และน้ำยาชนิด C มีคุณ สมบัติเป็นด่างและเปลี่ยนเป็นกลางเมื่อล้าง 6 ครั้ง น้ำยาทั้ง 3 ชนิดส่งผลต่อการเจริญของเชื้อ S. aureus ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในทุกวิธีการล้าง ยกเว้นเมื่อล้างด้วยน้ำสะอาด 12 ครั้ง การใช้น้ำยาชนิด A และ B ให้ผลการเจริญของ S. aureus ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) ภายหลังการล้างอย่างน้อย 3 ครั้งในขณะที่การใช้น้ำยาชนิด C เทียบกับน้ำยาชนิด A หรือ B ให้ผลการเจริญของเชื้อไม่แตกต่างกันเมื่อล้าง 12 ครั้ง เมื่อพิจารณาจำนวนครั้งของการล้างด้วยน้ำสะอาดในน้ำยาแต่ละชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญของเชื้อน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จำนวนครั้งที่เหมาะสมเมื่อใช้ น้ำยาชนิด A คือควรล้าง 3-12 ครั้ง เมื่อใช้น้ำยาชนิด B ควรล้าง 6-12 ครั้ง และถ้าใช้น้ำยาชนิด C ควรล้าง 12 ครั้ง           สรุป น้ำยาทำความสะอาดเครื่องแก้วแต่ละชนิดมีคุณสมบัติความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกัน การล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาที่ตกค้างในเครื่องแก้วได้ นอกจากนี้ความแตกต่างของชนิดน้ำยาทำความสะอาดและวิธีการล้างส่งผลต่อการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธีการล้างที่เหมาะสมคือ ถ้าใช้น้ำยาชนิด A ควรล้างอย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่อใช้น้ำยาชนิด B ควรล้างอย่างน้อย 6 ครั้ง และเมื่อใช้น้ำยาชนิด C ควรล้างอย่างน้อย 12 ครั้ง ตามลำดับ            Objective To compare the effect of glassware cleaning solution residues and the different rinsing procedures on microbial testing in microbiology laboratory.           Materials and Methods The 2.0% glassware-washing solution for laboratory purpose (reagent type A) composing of polyethylene glycol dodecyl and ethylene oxide, 2.0% dish-washing reagent (reagent type B) composing of linear alkylbenzene sulfonate, potassium salt and sodium lauryl ether sulfate, and 0.5% detergent (reagent type C) composing of anionic surfactant, zeolite, sodium carbonate, sodium carboxymethyl and cellulose were used to evaluate the detergent residues after performing 5 different rinsing procedures (No rinsing, rinsing for 1, 3, 6 and 12 times) on petri dishes. Sterile glass petri dishes were included as negative control. The pH of cleaning residue was determined using 0.04% Bromthymol blue. The 50-100 CFU/mL of Staphylococcus aureus (ATCC 6538) was used to explore the efficiency of bacterial growth on glass petri dishes with pour plate method and reported as mean CFU/mL with standard error of the mean (SEM). Statistical analysis was performed using IBM® SPSS® version 23 and GraphPad Prism® version 6.01. The p-value < 0.05 indicated statistical significant at 95% confident interval.          Results The reagent type A was alkaline and became neutral after rinsing for 3 times. Additionally, the reagent type B was acidic and turned into neutral after rinsing for 3 times. Moreover, the reagent type C was alkaline and became neutral after rinsing for 6 times. All 3 detergents affect microbial growth at statistically significant level (p < 0.05) in the conditions of no rinsing, rinsing for 1, 3 and 6 times. Using reagent type A or B following by rinsing for 3 times did not show statistically significant in bacterial growth (p > 0.05). However, the bacterial growth was not significant different in the use of reagent type C comparing with reagent type A or B. When considering the rinsing procedures less significantly affecting bacterial growth (p >0.05), the suggested protocols for using reagent type A or was 3-12 times whereas the protocol for reagent type B was 6-12 times and the protocol for reagent type C was 12 times.          Conclusion Each cleaning solution has different pH properties in detergent residues, which is solved by rinsing protocols. Moreover, different types of detergent and rinsing procedures significantly affect the bacterial growth. The suitable protocols for each washing solution are rinsing at least 3 time for 2.0% glassware-washing solution, rinsing at least 6 times for 2.0% dish-washing reagent and rinsing at least 12 times for 0.5% detergent, respectively.

Downloads