การพัฒนาต้นแบบระบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • นฤตย์ คุ้มยา

Keywords:

ผู้ป่วย, ค่าใช้จ่าย, ต้นทุนต่อหน่วย, บริการทางการแพทย์

Abstract

          บทนำ เนื่องจากระบบบริหารงานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างจากระบบบริหารงานโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ไม่สามารถนำโปรแกรมวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของกระทรวงสาธารณสุข (PH Costing) มาคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องสร้างแบบบันทึกข้อมูลและปรับปรุงโปรแกรมในการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยเป็นการเฉพาะของโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา          วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในการบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศึกษาต้นทุนต่อหน่วยย้อนหลัง 3 ปีงบประมาณโดยใช้ต้นแบบระบบบันทึกการวิเคราะห์ต้นทุนที่สร้างขึ้น          วิธีการศึกษา ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 5 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์ระบบงานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา 2) สร้างเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นต้นแบบแบบบันทึกข้อมูลในรูปของ Microsoft office excel และสร้างโปรแกรมวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (BUH Costing) เพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย 3) เก็บรวมรวมข้อมูลจากระบบบัญชี 3 มิติของโรงพยาบาลและข้อมูลระบบบริหารงานของโรงพยาบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 2559 และ 2560 ลงในต้นแบบที่สร้างขึ้น 4) กำหนดเกณฑ์การกระจายต้นทุนของแผนกต่างๆ และ 5) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม BUH Costing สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และอัตราส่วน          ผลการศึกษา ผู้วิจัยได้ต้นแบบสำหรับบันทึกข้อมูล 6 แบบ จำนวน 83 รายการ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานบุคลากร จำนวน 8 รายการ 2) แบบบันทึกค่าแรงจำแนกตามหน่วยต้นทุน จำนวน 28 รายการ 3) แบบบันทึกค่าวัสดุจำแนกตามหน่วยต้นทุน จำนวน 25 รายการ 4) แบบบันทึกค่าลงทุนจำแนกตามหน่วยต้นทุน จำนวน 6 รายการ 5) แบบบันทึกข้อมูลตามเกณฑ์การกระจายของหน่วยต้นทุน จำนวน 12 รายการ และ 6) แบบบันทึกการประมวลผลต้นทุนรวมทางตรงของหน่วยต้นทุน จำนวน 4 รายการ จากการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยโดยใช้ต้นแบบแบบบันทึกที่สร้างขึ้น พบว่าสามารถนำข้อมูลจากระบบ 3 มิติของโรงพยาบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 2559 และ 2560 ได้ต้นทุนของงานบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย เท่ากับ 2,429.25 1,613.92 และ 1,836.74 บาทต่อครั้ง ต้นทุนบริการผู้ป่วยในเฉลี่ย เท่ากับ 5,022.57 4,931.57 และ 4,628.65 บาทต่อวันนอน อัตราส่วนของต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เฉลี่ย เท่ากับ 50.59 : 40.62 : 8.79 ตามลำดับ แผนกที่มีต้นทุนรวมทางตรงมากที่สุดในระดับต้นๆ คือ งานการแพทย์ (ค่าแรง) กลุ่มงานการพยาบาล (ค่าแรง) กลุ่มงานเภสัชกรรม (ค่าวัสดุและค่าแรง) งานบริหารงานพัสดุ (ค่าวัสดุ) งานรังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (ค่าลงทุน) และแผนกห้องผ่าตัด (ค่าลงทุน)          สรุป ต้นแบบระบบบันทึกข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้จัดเก็บข้อมูลและนำเข้าสู่ระบบเพื่อใช้วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ            Introduction The Burapha University’s hospital management system differs from other hospital management systems of the Ministry of Public Health. The unit cost analysis program of the Ministry of Public Health cannot calculate the unit cost effectively. Therefore, it is necessary to create a form to collect data with updates in unit cost analysis specific to the Burapha University Hospital.          Objective The purpose of this research was to developed a prototype recording system for the unit cost of medical services, and compare the cost per unit backwards against 3 fiscal years.           Methods The study and analysis of Burapha University’s hospital management   system: To create a tool to collect data as a prototype in unit cost recording. Collecting data from accounting across 3 dimensions system, in combination with the budget years of 2015, 2016 and 2017. Criteria for allocation and data was analyzed by the BUH Costing program.  The statistics employed included frequency, percentage and ratio.           Results The research found that 6 type of unit cost recording included Personnel basic resource data recording form with 8 items, Labor Cost recording form with 28 items, Material Cost recording form with 25 items, Capital Cost recording form with 6 items, Allocation Criteria recording form with 12 items and Total Direct Cost recording form with 4 items. The average outpatient service costs per visit in the budget years of 2015, 2016 and 2017 were 2,429.25, 1,613.92 and 1,836.74 Baht per visit. The average inpatient service costs per length of stay during the budget years of 2015, 2016 and 2017 were 5,022.57, 4,931.57 and 4,628.65 Baht per day. The ratio of labor costs: material costs: capital costs as an average during the budget years 2015, 2016 and 2017 were 50.59: 40.62: 8.79. The highest total direct cost departments included Medical (Labor costs), Nursing (Labor costs), Pharmaceutical (Labor costs and Material costs), Parcel Management (Material costs), Radiology and Nuclear (Capital Costs) and Operating room (Capital Costs).             Conclusion This prototype recording system for unit cost analysis of the medical services of the Burapha University Hospital can be used to more efficiently collect and import data into the hospital management system to analyze unit costs.

Downloads