การยอมรับและความพึงพอใจต่อตำรับขนมไทยสูตรลดไขมัน

Authors

  • อลงกต สิงห์โต
  • อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล
  • รังสิมา ดรุณพันธ์
  • นริศา เรืองศรี

Keywords:

ขนมไทย, ไขมัน, โภชนาการ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Abstract

          วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตำรับขนมไทยสูตรลดไขมันที่ยอมรับต่ออาสาสมัคร          วิธีการศึกษา ตำรับขนมไทยจำนวน 3 รายการ (ขนมครก ขนมถ้วย กล้วยบวชชี) ได้รับเลือกจากการ  สำรวจ และนำมาพัฒนารายการละ 3 สูตร ได้แก่ สูตรที่ใช้กะทิปกติ สูตรที่ใช้กะทิปกติกับกะทิธัญพืชอัตราส่วน 50:50 และสูตรที่ใช้กะทิธัญพืช ทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อทดสอบความพึงพอใจด้านต่างๆ ใน อาสาสมัครจำนวน 30 คน          ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความพึงพอใจในด้านต่างๆ ของขนมไทยในแต่ละสูตรไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านกลิ่นขณะเคี้ยวของขนมครกและกล้วยบวชชีที่สูตรกะทิธัญพืชน้อยกว่าสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อย่างไรก็ตาม คะแนนความพึงพอใจโดยภาพรวมแต่ละสูตรของทั้ง 3 รายการอยู่ในระดับที่อาสาสมัครให้การยอมรับ          สรุป ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าขนมไทยสูตรลดไขมันที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 รายการได้รับการยอมรับจากอาสาสมัคร           Objectives This study aimed to develop reduced fat Thai desserts with an overall acceptance and satisfaction among a group of participants.           Materials and Methods Selected by our survey, “Kanom Krok,” “Kanom Tuay,” and “Kluay Buach She” were the three top ranked Thai desserts to be used as food samples in this study. Three reduced fat recipes were developed for each menu (coconut milk, mixed coconut milk and cereal cream in a 50:50 ratio, as well as a cereal cream recipe) and used in a sensory evaluation test with 30 participants, to determine their acceptance and satisfaction.          Results The findings of this study revealed no significant differences to average satisfaction scores in all aspects of the reduced fat Thai desserts. However, flavor was an exception when it came to the cereal cream 50:50 recipes (p < 0.05) for both Kanom Krok and Kluay Buach She. The average scores of flavor in these cereal cream recipes were significantly lower than coconut milk and mixed coconut milk (p < 0.05). However, the overall results showed a general satisfaction score as classified by the participants for all 3 recipes on the menu.          Conclusion The developed reduced fat Thai desserts were acceptable to participants.

Downloads