ผลของโปรแกรมฝึกความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็น และมิติสัมพันธ์ สำหรับผู้สูงอายุ

Authors

  • พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต
  • มานิกา วิเศษสาธร
  • ฐิรชัย หงษ์ยันตรชัย

Keywords:

โปรแกรมฝึกความจำ, ผู้สูงอายุ, กิจกรรมสมมาตร, การมองเห็น

Abstract

          วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์สำหรับผู้สูงอายุ           วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (experimental research design) แบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองและสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 - 70 ปี จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน แบ่ง 2 กลุ่มจำนวนเท่าๆ กัน โดยพิจารณาถึงความเหมือนในด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมพัฒนาความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยการศึกษาตำรา  เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 45 – 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและเครื่องมือวัดความจำขณะปฏิบัติงานด้านการ มองเห็นและมิติสัมพันธ์คือ กิจกรรม symmetry span วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ในระยะก่อน สิ้นสุด และติดตามผลการทดลอง  ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภท หนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม           ผลการศึกษา กลุ่มทดลองมีคะแนนความจำขณะปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับโปรแกรมการฝึก ความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผลที่ 4 สัปดาห์ ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนความจำขณะปฏิบัติงานสูง กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ชี้ให้เห็นว่า การได้รับโปรแกรมฝึกความจำขณะ ปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความจำขณะปฏิบัติงานของผู้สูงอายุ           สรุปผลการศึกษา จากผลคะแนนที่สูงขึ้นในระยะสิ้นสุดการทดลองและผลคะแนนที่แตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล ดังนั้นโปรแกรมฝึกความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์นี้สามารถนำไปใช้ฝึกผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความจำขณะปฏิบัติงานได้           Objective This research examined the effectiveness of visuospatial working memory training for the elderly.           Methods Experimental research with a pretest – posttest control group design, and a two-factor experiment with repeated measures on one factor, on a group of thirty, purposively selected, elderly patients (aged 65-70 years old) living in Chon Buri province. The subjects were divided into two groups and split equally into experimental and control groups based on similarities of sex, age, and levels of education. Subjects in the experimental group received a 5 week long visuospatial working memory training program, lasting 45-60 minutes and occurring twice a week. Instruments for this study included personal questionnaires as well as the data from visuospatial working memory during symmetry span tasks. Comparisons were made between the experimental and control group data, and period of experiments in three phases: pretest - posttest and follow-up phases using paired t-tests and independent t-tests, and by using repeated measures ANOVA (Analysis of Variance) – one between-subjects ariable and one within-subjects variable.            Results The results showed that the posttest symmetry span accuracy scores of participants having received visuospatial working memory training were significantly higher than their pretest scores at .01 (p <.01). Additionally, these scores were significantly higher than the scores of participants in the control group at .05 (p < .05). These results indicated that visuospatial working memory training improves working memory capacity in the elderly.           Conclusion From the different and higher scores between the experimental and control groups in the posttest phase of this experiment, the visuospatial working memory training program can be used to train the elderly to effectively increase the potential of working memory in the elderly.

Downloads