ปัจจัยเสี่ยงและลักษณะทางคลินิกของภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นจากเส้นเลือดโป่งพองและไม่ใช่เส้นเลือดโป่งพอง

Authors

  • สมิทธ์ เกิดสินธุ์
  • พิมล เลาหะวีร์
  • มิณชิตา จุฑาธิปไตย
  • วราภรณ์ แดงสุวรรณ

Keywords:

ภาวะเลือดออก, ทางเดินอาหารส่วนต้น, เส้นเลือดโป่งพอง, ไม่ใช่เส้นเลือดโป่งพอง

Abstract

          บทนำ ภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อย และมีอัตราการเสียชีวิตสูง จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว          วัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นจากเส้นเลือดโป่งพองและไม่ใช่สาเหตุจากเส้นเลือดโป่งพอง          วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยศึกษาจากประวัติทางการแพทย์ อาการ อาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วนำมาวิเคราะห์          ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 171 คน เป็นสาเหตุจากเส้นเลือดโป่งพอง ร้อยละ 12.8 ไม่ใช่สาเหตุจากเส้นเลือดโป่งพอง ร้อยละ 87.2 ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับสาเหตุเส้นเลือดโป่งพอง ได้แก่ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ประวัติเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นจากสาเหตุเส้นเลือดโป่งพอง อาเจียนเป็นเลือด การสวนล้างกระเพาะอาหารผ่านสายสวนทางจมูกแล้วได้เป็นเลือดสด ความดันโลหิตต่ำ ตับแข็ง ท้องมาน เกล็ดเลือดต่ำ ระดับ AST, ALT, total bilirubin สูง และ อัตราส่วน albumin ต่อ globulin ต่ำ และกลุ่มที่ไม่ใช่เส้นเลือดโป่งพอง ได้แก่ ประวัติการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาต้านเกล็ดเลือด          สรุป ข้อค้นพบใหม่ของการศึกษานี้คือ ปัจจัยประวัติการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ อัตราส่วน albumin ต่อ globulin ต่ำ ที่สามารถใช้แยกสาเหตุของภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม           Background Upper gastrointestinal bleeding (UGIB) is the most common gastroenterological emergency and is correlated with a high mortality rate.          Objective To study the risk factors associated with variceal or non-variceal causes of upper gastrointestinal bleeding.          Methodology This retrospective study (over a 1-year period) took place at the Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital, and reviewed patients with a medical history of signs  & symptoms (as well as laboratory findings) consistant with UGIB.         Result Of the 171 patients presenting UGIB, 12.8% had variceal bleeding, while 87.2% presented non-variceal bleeding. Factors associated with non-variceal bleeding included: alcohol consumption, a history of variceal bleeding, hematemesis, NG lavages confirming bleeding, hypotension (BP<90/60), cirrhosis, ascites, thrombocytopenia, high AST, ALT with total bilirubin levels, as well as a low Albumin/globulin ratio. Factors associated with non variceal bleeding included a history of NSAID and antiplatelet use.          Conclusion This study revealed a new factors associated with variceal bleeding: a low Albumin/globulin ratio. This factors can be addressed by secondary hospitals. Therefore, patients can receive their primary treatment before being referred to a specialized center, resulting in an overall decrease in patient mortality rate.

Downloads