ผลของค่าอัตราการกรองของไต ณ ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มล้างไตทางช่องท้องต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ระวีวรรณ วิฑูรย์
  • สมชาย ยงศิริ
  • อโนชา วนิชชานนท์
  • เพ็ชรงาม ไชยวานิช

Keywords:

การล้างไตทางช่องท้อง, การกรองของไต, อัตราการอยู่รอด, การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง

Abstract

          บทนำ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการเริ่มล้างไตทางช่องท้องยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด          วัตถุประสงค์ หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) เริ่มต้นของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องกับอัตราการรอดชีวิต การนอนโรงพยาบาลและภาวะแทรกซ้อนจากการล้างช่องท้อง          วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2560 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การล้างไต ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การติดเชื้อ นอนรพ. และเสียชีวิตของผู้ป่วย แบ่งผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มตามค่า eGFR < 3, 3-5.9, 6-9.9 และ ≥10 มล. /นาที/ 1.73 ตารางเมตร เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของ eGFR เริ่มต้นกับผลลัพธ์ทางคลินิก          ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้าร่วม 176 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง eGFR เริ่มต้นเฉลี่ย 5.35±2.60 มล. /นาที/ 1.73 ตารางเมตร ปริมาณปัสสาวะคงเหลือ 736.53 ± 502.58 มิลลิลิตรต่อวัน ระยะเวลาในการล้างช่องท้อง 26.32 ± 19.42 เดือน ผู้ป่วยเสียชีวิต 76 ราย จากการศึกษาพบว่า ระดับค่า eGFR เริ่มต้นไม่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย (95% CI:0.88-1.50; p=0.318) เช่นเดียวกันกับอัตราการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องและการนอนโรงพยาบาล (p=0.801, p=0.674 ตามลำดับ)          สรุปผลการศึกษา กลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มล้างไตทางช่องท้อง ณ ค่าอัตราการกรองของไตต่ำให้ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เริ่มเร็วกว่าทั้งในแง่อัตราการรอดชีวิต การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและอัตราการนอนโรงพยาบาล           Introduction The optimal time for peritoneal dialysis (PD) initiation remains controversial.          Objective To assess the correlation between eGFR at PD initiation and clinical outcomes. The primary outcome was patient’s survival and the secondary outcomes were PD-related complications and hospitalization.          Methods The patients who undergoing peritoneal dialysis in 2013-2017 were  enrolled in this retrospective study. Demographics, baseline laboratories, PD data and adequacy were collected from the medical records. Patients were categorized into four groups < 3, 3-5.9, 6-9.9 and ≥10 ml/min/1.73 m2 as per eGFR at the initiation of PD for assessing the association with the clinical outcomes.          Results 176 patients were included in this study. Female prevalence was 61.4%. Mean eGFR at PD initiation was 5.35±2.60 ml/min/1.73m2, residual urine volume 736.53±502.5 ml/day, dialysis vintage 26.32±19.42 months. Death occurred in 76 patients. The survival outcome was not significantly different in any level of GFR at initiation (95% CI: 0.88-1.50; p=0.318). The peritonitis rate and hospitalization were also similar (p=0.801, p=0.674 respectively).          Conclusion The late initiation of peritoneal dialysis showed comparable survival outcome with the early initiation group, and did not increase the rate of peritonitis and  hospitalization.

Downloads