ความสัมพันพันธ์ระหว่างการรับความรู้สึกข้อต่อกับความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Authors

  • พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต
  • ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
  • นงนุช ล่วงพ้น

Keywords:

ข้อต่อ, การทรงตัว, ความรู้สึกข้อต่อ, กล้ามเนื้อ, การล้ม, ผู้สูงอายุ

Abstract

         บทนำ การล้มกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน อัมพาต และส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียด วิตกกังวลและกลัวล้มจนช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง การสูญเสียการทรงตัวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการการล้ม การควบคุมการทรงตัวเป็นการทำงานร่วมกันของการมองเห็น  การรับความรู้สึกข้อต่อ (proprioception) และการควบคุมจากระบบประสาทส่วนกลางซึ่งต้องทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างดีจึงจะทำให้เกิดการทรงตัวที่ดี อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อระบบควบคุมสมดุลการทรงตัว ของร่างกาย โดยประสิทธิภาพลดลงเนื่องมาจากความเสื่อมของ proprioception และนำมาซึ่งการล้มในผู้สูงอายุ ดังนั้นการตรวจประเมิน proprioception จึงมีความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ         วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับความรู้สึกข้อต่อ (proprioception) และความสามารถในการทรงตัวด้วยการประเมิน Time Up and Go (TUG) ในผู้สูงอายุ         วิธีการศึกษา ผู้สูงอายุ 50 คน จะได้รับการตรวจประเมิน TUG และ proprioception บริเวณข้อเท้าและนิ้วเท้าด้วยวิธีตรวจ joint position sense โดยนักกายภาพบำบัด          ผลการศึกษา ความสามารถในการทรงตัวและ proprioception ทุกข้อต่อของข้อเท้าและนิ้วเท้าไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ          สรุป proprioception ของข้อเท้า นิ้วเท้าไม่มีความสัมพันธ์กันกับความสามารถในการทรงตัว แต่การตรวจ TUG และ proprioception ควรทำในผู้สูงอายุเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการล้ม           Introduction Fall is the most common accident of the elderly, and has both physical factors (such as fracture, joint dislocation or hemiplegia) and mental factors (such as stress and a fear of falling). An Increase to the risk of falling is the loss of balance – with good balance control generated from the somatosensory, musculoskeletal and nervous systems. Proprioception is one of the senses of the somatosensory system, and has an important role in balance control. Degeneration of the body in the elderly includes degeneration of proprioception, and therefore the assessment of proprioception is a necessary prevention of accidental fall in elderly patients.           Methods 50 elderly participants were assessed with “TUG” tests for joint position sense (proprioception) at their ankles and toes by our physical therapist. The 50 participants selected were able to walk independently.           Results There was no correlation between joint position of all the joints with the TUG test results (p< 0.05).           Conclusions Proprioception and TUG results in the elderly is not correlated. However, an assessment of proprioception and TUG is suggested for the prevention of   falling.

Downloads