ชุดภาพรังสีช่องท้อง: บทบาทที่เปลี่ยนไปในภาวะปวดท้องเฉียบพลัน

Authors

  • ลลิตพรรณ นิมมานเกียรติคุณ
  • ศรสุภา ลิ้มเจริญ

Keywords:

รังสีช่องทอง, ภาวะฉุกเฉินทางช่องท้อง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การวินิจฉัยทางรังสี, อัลตร้าซาวด์

Abstract

          ชุดภาพรังสีช่องท้องมักถูกใช้เป็นอันดับแรกของการวินิจฉัยทางรังสีในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลัน  แต่เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีของการวินิจฉัยทางรังสีได้พัฒนาไปอย่างมาก ทำให้บทบาทของชุดภาพรังสีช่องท้องลดลงเนื่องจากมีความไวและความจำเพาะต่ำ อัลตร้าซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความแม่นยำในการวินิจฉัยที่ดีกว่าได้มาทดแทนชุดภาพรังสีช่องท้องในหลายๆ โรคในกลุ่มภาวะปวดท้องเฉียบพลันแต่แพทย์ก็ยังสั่งตรวจด้วยชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นอันดับแรกอยู่เช่นเดิม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทของชุดภาพรังสีช่องท้องในการวินิจฉัยผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลันในปัจจุบันและเครื่องมือการวินิจฉัยทางรังสีที่เปลี่ยนไปในโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มภาวะปวดท้องเฉียบพลันรวมทั้งประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ เหล่านั้น           Conventional abdominal radiographs (CAR) have long been used as initial imaging in patients with acute abdominal pain. With the advancement of imaging modalities today, CAR has a limited role in the diagnosis of acute abdominal pain due to its low sensitivity and specificity. The imaging modality for acute abdominal patients has changed to ultrasound or computed tomography with a good diagnostic accuracy but CAR is still ordered by the physician. This study aims to review the current role of CAR and the common abdominal conditions that other imaging modalities replacing the CAR. The accuracy of those imaging modalities is also discussed.

Downloads