ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความเข้าใจโรคตาแดงในผู้ประกอบการแผงลอยอาหารชายหาดบางแสน ประเทศไทย
Keywords:
ปัจจัย, โรคตาแดง, ผู้ประกอบการ, แผงลอยอาหารAbstract
บริบท โรคตาแดง เป็นโรคระบาด เกิดที่เยื่อบุตาจากเชื้ออะดิโนไวรัส วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความเข้าใจโรคตาแดงจากสื่อที่ผลิตขึ้นใช้ใน ผู้ประกอบการแผงลอยอาหารหาดบางแสน ประเทศไทย วิธีการ การศึกษาวิเคราะห์นี้เป็นแบบตัดขวาง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้ประกอบการแผงขายอาหาร 111 แห่งที่หาดบางแสน โดยตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ทัศนคติการเรียนรู้โรคตาแดง ความรู้และ ความเข้าใจก่อนและหลังการเรียนรู้โรคตาแดงจากสื่อที่ผลิต ใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 และความพึงพอใจต่อสื่อที่ผลิตขึ้นใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท การผลิตสื่อใช้ทฤษฎีช่องว่างความรู้ ประกอบด้วย สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน ในรูปแบบโบชัวร์ การกระจายเสียงตามสาย และ LCD compact disc นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความรู้และความเข้าใจหลังจากเรียนรู้จากสื่อที่ผลิต ใช้สถิติที่ไม่ใช่พารามิเตอร์ (ไคสแควร์) ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นหญิงไทย (ร้อยละ 83.8) อายุระหว่าง 41 ถึง 60 ปี (ร้อยละ 42.3) ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 38.7) ความรู้และความเข้าใจโรคตาแดงของกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนรู้สื่อผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 มีจำนวนร้อยละ 13.6 หลังการเรียนรู้สื่อผ่านเกณฑ์มีจำนวนร้อยละ 93.1 ส่วนระดับความพึงพอใจต่อความรู้ที่ได้รับจากสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 55.9) ระดับการศึกษาเป็นปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อความรู้และความเข้าใจในโรคตาแดง (X2 = 39.64, p-value = .00) สรุป จากงานวิจัยนี้พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความเข้าใจในโรคตาแดงของผู้ประกอบการแผงลอยอาหารที่หาดบางแสน ประเทศไทย คือ ระดับการศึกษา Context Epidemic keratoconjunctivitis (EKC) is conjunctivitis caused by a group of adenoviruses. Objective To assess factors that influence food stall traders’ knowledge and understanding EKC form education media at Bangsaen Beach, Chonburi, Thailand. Methods This was a cross-sectional analysis study including 111 food stall traders at Bangsaen Beach. The participants answered a set of questionnaires: general data, attitudes toward learning EKC (using 5-point Likert scale), knowledge and understanding the EKC before and after learning EKC through education media (using 70% as passing level) and participants’ gratification toward the media (using 5-point Likert scale). The knowledge gap theory was used to construct education media consisted of etiology, symptoms, management and prevention Results Eighty-three point eight percent of the participants was Thai women, with 42.3% between 41 and 60 years of age. Most had received primary school education (38.7%). The majority of the participants had little knowledge of the disease before receiving information through the media. Only 13.6% passed a pre-test while 93.1% passed the post-test. Furthermore, most of the participants expressed a high level of satisfaction with the knowledge they received through the media (55.9%). The level of education was the only factor that influenced on the knowledge and understanding of epidemic keratoconjunctivitis (X2 = 39.64, p-value = .00). Through brochure, public address system, and LCD compact disc. The nonparametric chi square was used to analyze the data. Conclusions The level of education was only factor affecting the knowledge and understanding of Epidemic Keratoconjunctivitis among food stall traders at Bangsaen Beach, Thailand. The knowledge can be bridged by providing the knowledge gap between what they know and what they have to know.Downloads
Issue
Section
Articles