การติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในเด็ก

Authors

  • วราวุฒิ เกรียงบูรพา

Keywords:

เด็ก, โคโรนาไวรัส 2019, โควิด-19

Abstract

          ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ได้มีรายงานการติดเชื้อปอดอักเสบรุนแรงจากเชื้อไวรัสไม่ทราบชนิด ในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาได้มีการวิเคราะห์พันธุกรรมของเชื้อไวรัสให้ชื่อว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2020 มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 890,000 ราย และเสียชีวิตมากกว่า 45,000 รายทั่วโลก          ระบาดวิทยาและลักษณะทางคลินิกของการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ใหญ่มีรายงานการศึกษาเพิ่มมากขึ้น แต่ข้อมูลในเด็กยังคงมีการศึกษาจำกัด บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะทางคลินิกของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ค.ศ. 2020 พบเด็กเพียงร้อยละ 1-5 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ร้อยละ 91 ติดเชื้อมาจากครอบครัวหรือในชุมชน ในเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 มาด้วยการติดเชื้อปอดอักเสบ (ร้อยละ 40.9-64.9), ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (ร้อยละ 19.3-43.1), ไม่มีอาการ (ร้อยละ 12.9-15.8) และอยู่ในภาวะวิกฤต (ร้อยละ 0.4) อาการที่พบบ่อยได้แก่ อาการไอ (ร้อยละ 44-65) และมีไข้ (ร้อยละ 41.5-60) การตรวจปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบลักษณะความผิดปกติเป็นแบบ ground-glass opacity (ร้อยละ 32.7-60), local patchy shadowing (ร้อยละ 18.7), bilateral patchy shadowing (ร้อยละ 12.3) และ interstitial abnormalities (ร้อยละ 1.2)          การติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงน้อยในเด็กเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญจากการค้นพบนี้คือผู้ป่วยเด็กสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้อย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อโควิด-19 ในเด็กต้องได้รับการแนะนำ           In December 2019, there was an outbreak of a severe pneumonia caused from an unknown virus in Wuhan, China. The virus was later identified to be a novel coronavirus named Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2), causing Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). By April 2nd, 2020, COVID-19 had resulted in over 890,000 cases and over 45,000 deaths worldwide. The epidemiology and clinical characteristics of adults with COVID-19 has been increasingly reported on. However, clinical data for children is still limited. This article aims to review the clinical characteristics of children with COVID-19. The author reviewed systematic literature on children with COVID-19 published from February-April in 2020. Children have accounted for 1-5% of confirmed COVID-19 diagnoses. Among those cases, 91% of those children have been exposed to a COVID-19 patient within their household or community. The most common presentation of COVID-19 in children is pneumonia (40.9-64.9%), followed by upper respiratory tract infections (19.3-43.1%). Additional indicators have been asymptomatic (12.9 - 15.8%) as well as critical cases (0.4%). The most common symptoms present at the onset of illness were cough (44-65%) and fever (41.5-60%). CT chest scans revealed bilateral ground glass opacity (32.7-60%), local patchy shadowing (18.7%), bilateral patchy shadowing (12.3%) and interstitial abnormalities (1.2%).          COVID-19 tends to be less severe in children as compared with adults. The important message from this finding is that children contribute to the rapid spreading of the SARS-CoV-2 virus. Strategies to reduce the risk of COVID-19 transmission in children must be recommended.

Downloads