ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์
  • ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์
  • กาญจนา พิบูลย์

Keywords:

โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง, ภาวะอ้วน , บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ , คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, บุคลากรทางการแพทย์

Abstract

      บทนำ จากผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2557-2559 พบว่า บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรมล้วนมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในแต่ละปี ทางผู้วิจัยจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและหาแนวทางจัดการเพื่อให้บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น  วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีภาวะอ้วนและผ่านการตรวจสุขภาพโดยศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ (Wellness Center) โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองและ แบบบันทึกพฤติกรรมการกำกับตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ paired t- test, independent sample t-test และ repeated measure Anova  ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหารของกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) (ค่าเฉลี่ย = 74.83 S.D. = 8.27, ค่าเฉลี่ย = 51.57 S.D. = 9.09) และ (ค่าเฉลี่ย = 78.63 S.D. = 6.46, ค่าเฉลี่ย = 49.70 S.D. = 6.85 ) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) (ค่าเฉลี่ย = 74.83 S.D. = 8.27, ค่าเฉลี่ย = 51.57 S.D. = 9.09) และ (ค่าเฉลี่ย = 78.63 S.D. = 6.46, ค่าเฉลี่ยx = 49.70 S.D. = 6.85) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิกค่าเฉลี่ยระดับความดันไดแอสโตลิกค่าเฉลี่ยระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าเฉลี่ยระดับคอลเลสเตอรอล ค่าเฉลี่ยระดับแอลดีของกลุ่มทดลอง ในระยะติดตามผลต่ำกว่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และค่าเฉลี่ยระดับเอชดีแอลคอลเลสเตอรอลของกลุ่มทดลองระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  สรุปผล จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยสามารถเพิ่มระดับพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ด้านการรับประทานอาหารพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย และลดระดับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวระดับน้ำตาลในเลือดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับคอลเลสเตอรอลรวม ระดับแอลดีแอลคอลเลสเตอรอล และยังเพิ่มระดับเอชดีแอลคอลเลสเตอรอลในบุคลากรที่มีภาวะอ้วนได้  Introduction: The 2014, 2015 and 2016 health examination results of staff working for Burapha University Hospital indicated conditions of increasing risk for metabolic syndrome among its personnel. Therefore it is important that poor health conditions of staff should be urgently improved. Objective: This quasi-experimental research was aimed to study the effectiveness of a self-managed support program against obesity among staff at the Faculty of Medicine at Burapha University.  Methods: This quasi-experimental research studied the effectiveness of a self-managed support program for obesity among 60 staff members at the Faculty of Medicine of Burapha University. For this study the participants were divided into two equal groups. 30 participants were randomly assigned as participants in a control group, while the other 30 participants were assigned to the experimental group. While the members in the control group were receiving their ordinary services, those in the experimental group were taking part in the self-managed support program. The period of treatment took 16 weeks. The research instruments consisted of 1) a self-managing support program on obesity; and 2) questionnaires and self-regulation forms. Data was analyzed through the use of descriptive statistics, which were pair t- tests, independent sample t-tests and repeated measures ANOVA.  Results: The results showed that the average score of the experimental group, including eating and exercise behavior, was higher than the average score from the control group (p < 0.05). The average scores of waist circumference level, body mass index level, fasting blood sugar level, systolic blood pressure level, diastolic blood pressure level, triglycerides level, cholesterol level as well as lower density lipoprotein level showed that in the follow-up period, the experimental group’s average scores were lower than those of the control group, respectively (p< 0.05). However, in the follow up period the average score of high density lipoprotein level was higher in the experimental group than the average score of the control group (p < 0.05).  Conclusion: Thus, the self-managed support program could be an effective program for Faculty of Medicine staff with obesity. The self-managed program could improve life style with modifications of eating and exercise behavior.

Downloads

Published

2022-10-25