ปัญหาสุขภาพและผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยสูงอายุในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตในประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน

Authors

  • Le Lam Tuyet Duy
  • พิศมัย หอมจำปา

Keywords:

ผู้ป่วยสูงอายุ , ปัญหาสุขภาพ , ผลลัพธ์การรักษา , หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต , ผู้ป่วยวิกฤต, ประเทศที่มีรายได้น้อยและ รายได้ปานกลาง

Abstract

ภูมิหลัง ผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) มีอัตราตายสูง โดยเฉพาะใน ประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง (LMICs)  วัตถุประสงค์ การวิจัยโดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อสรุปสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในไอซียูและผลลัพธ์ของการรักษาที่เกิดขึ้นในประเทศกลุ่ม LMICs  วิธีการศึกษา คณะผู้วิจัยทำการสืบค้นจาก 7 ฐานข้อมูล เพื่อค้นหาบทความวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในไอซียูและผลลัพธ์ของการรักษาที่เกิดขึ้นในประเทศกลุ่ม LMICs ครอบคลุมการวิจัยโดยการสังเกตทุกรูปแบบที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2553-2562 โดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานตามข้อกำหนดของ PRISMA และแบบตรวจสอบรายการของ Joanna Briggs Institute (JBI)  ผลการศึกษา บทความวิจัยจำนวน 10 บทความ จาก 1,486 บทความจากทุกแหล่งที่เข้าเกณฑ์การคัดเข้าครอบคลุมผู้สูงอายุ 4,915 คน ที่เข้ารับการรักษาในไอซียูทั่วไป 6 แห่ง และเฉพาะทาง 13 แห่งจาก 7 ประเทศในกลมุ่ LMICs คุณภาพของบทความที่ได้ทบทวนโดยรวมอย่ใู นเกณฑ์ปานกลาง ผลการวิจัยพบว่าอัตราตายของผู้ป่วยหนักสูงอายุในหอผู้ป่วยวิกฤตและในโรงพยาบาลรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 15.6% (95% CI = 14.1-17.2, p = 0.04, I2 = 96.9%) และ 33.3% (95% CI = 22.5-43.9, p<0.001, I2 = 46.6%) มีระยะเวลาครองเตียง (LOS) ในไอซียูและในโรงพยาบาลเฉลี่ย (S.D.) = 6.7 (10.6) และ18.8 (8.6) วัน โดยมากกว่าหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ตั้งแต่แรกรับ การติดเชื้อและปัญหาที่เกี่ยวข้องมักพบในระหว่างที่ผู้ป่วยรับการรักษาอยู่ในไอซียู  สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยหนักสูงอายุในประเทศกลุ่ม LMICs มักมีอาการรุนแรงตั้งแต่แรกรับและมีอัตราตายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมากกว่าร้อยละสิบ ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน มีภาวะสับสน ขาดสารอาหาร มีโรคร่วมและ/หรือติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นปัจจัยเสี่ยงของการตายและผลลัพธ์การรักษาที่ไม่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญ  Introduction Older patients admitted to intensive care units (ICUs) hada high mortality rate, particularly in the low- and middle-income countries (LMICs).  Objectives This systematic review and meta-analysis aims to summarize current prevalence of health problems and health care outcomes of older patients admitted to ICUs in the LMICs.  Methods We searched seven databases to identify original studies investigating profiles of ICU admissions of patients aged 60 or over and health care outcomes in the LMICs. All types of observational studies published from 2010 to 2019 were eligible. Quality assessment of articles used the Preferred Reporting Items for Systematic Review and Meta-Analysis (PRISMA) and the Joanna Briggs Institute Checklists (JBI).  Results Ten out of 1,486 observational studies from all sources enrolling a total of 4,915 critically ill older patients from six general- and thirteen specialty ICUs in seven LMICs were included. The overall quality of the studies was moderate. ICU- and in-hospital mortality pooled rates of the older patients were 15.6% (95% CI = 14.1-17.2, p = 0.04, I2= 96.9%) and 33.3% (95% CI = 22.5-43.9, p<0.001, I2 = 46.6%). Their pooled means (S.D.) of ICU and in-hospital length of stay were 6.7 (10.6) and 18.8 (8.6) days. Over one-fourth of them had severe conditions and loss of functional independence on ICU admission. Infection-related problems were evidenced during ICU stays.  Conclusion Critically ill older patients in the LMICs largely have severe conditions on ICU admission with over one-tenth of ICU mortality. Patients with acute kidney injury, delirium, malnutrition, comorbid illnesses, and/or sepsis significantly have increased risk of death and adverse outcomes.

Downloads

Published

2022-10-25