บทนำ จากการสำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงาน เครือข่ายบริการปฐมภูมิเมืองย่า 4 หัวทะเล พบว่ามีปัญหาสุขภาพจากความเสื่อมของร่างกายและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็นอัตราความชุกเท่ากับ 36.09, 7.60 และ 2.46 ต่อพันประชากรตามลำดับ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงานในพื้นที่เครือข่ายบริการปฐมภูมิเมืองย่า 4 หัวทะเล วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคัดตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 398 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าไคสแควร์ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.37) อายุระหว่าง 50-59 ปี (ร้อยละ 38.44) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 58.54) การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 45.72) มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.45) โดยปัจจัยที่สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนข้อมูลสิ่งของและบริการ (r = .52, p<0.01) และการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง (r = .22, p<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติ สำหรับปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงาน พบว่า การได้รับสนับสนุนข้อมูล สิ่งของและบริการ (β = .491, p< 0.01) และการรับรู้สุขภาวะของตนเอง (β = .103, p< 0.05) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 27.6 (R2 = .276, p< 0.01) สรุป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงานได้แก่ การได้รับการสนับสนุนข้อมูลสิ่งของและบริการ และการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง ดังนั้นในการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพรายบุคคลเพื่อให้เกิดการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป Introduction: The results from a study into self-care behavior among working-aged people in primary care Muangya 4 Hau-ta-lay, showed health decline and incorrect health behaviors. These behaviors led to non-communicable diseases – namely high blood pressure, diabetes and stroke at the prevalence rate of 36.09, 7.63, 16.29 and 2.46 per thousand, respectively. Objectives: To study the self-care behavior – including factors related to and factors affecting self-care behavior – among working-aged people from primary care Muangya 4 Hau-ta-lay. Methodology: The sample group consisted of 398 working-aged people using multi-stage random sampling. Structured interviews were used in the data collection procedure, while descriptive statistics, Chi-square, Pearson Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis were used in data analysis. Results: The majority of the sample group were females (74.37%) aged 50-59 years old (38.44%). 58.54% of the group were working as workers, of which 45.72% had completed junior high school. Self-care behavior was at a higher level among working-aged people (average = 2.45). Positive correlations with self-care behavior included Information, goods and service support (r = .52, p < 0.01) and perceived health status (r = .22, p < 0.01) with a statistical significance. Therefore, predicting factors influencing self-care behavior among working-aged people will be Information, goods and service support (β = .491, p < 0.01) and perceived health status (β = .103, p < 0.05) with the value of 27.60 percent (R2 = .276, p < 0.01). Conclusion: Factors affecting self-care behavior among working-aged people are from information, goods and service support and perceived health status. Health promotion should aim to inform individual self-care behavior, and ultimately lead to sustainable health care in life.