เหตุผลและความพึงพอใจในการรักษากระดูกแบบพื้นบ้าน ในตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด

Authors

  • พลอยชนก ปทุมานนท์
  • รัชนี เจริญนรากร

Keywords:

การรักษาโรคกระดูก , หมอพื้นบ้าน, ความพึงพอใจ, การรักษากระดูกแบบพื้นบ้าน , ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด

Abstract

     บทนำ เหตุผลในการรักษาโรคหรือความผิดปกติของกระดูกแบบพื้นบ้านอาจมีหลายประการ การรักษาโรคกระดูกมีทั้งตามแผนปัจจุบันและการแพทย์พื้นบ้าน บางส่วนนิยมการแพทย์พื้นบ้านจึงนำมาสู่การศึกษาการรักษาแบบพื้นบ้าน  วัตถุประสงค์ ศึกษาเหตุผลในการรักษากระดูกแบบพื้นบ้าน และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการรักษากระดูกแบบพื้นบ้าน  วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลจากผู้ที่มารักษากระดูกแบบพื้นบ้านในตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2562 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เหตุผลและความพึงพอใจในการรักษา ด้วยการใช้แบบสอบถาม  ผลการศึกษา ผู้ที่เข้าร่วม 60 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.33 จากการศึกษาพบว่า เหตุผลในการรักษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.21) (ค่าประเมิน 1-5) เหตุผลลำดับแรก ๆ คือ ชื่อเสียงของหมอความมั่นใจในผลการรักษา และหมออัธยาศัยดี เป็นกันเอง ส่วนความพึงพอใจในการรักษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58) ความพึงพอใจลำดับแรก ๆ คือ การเอาใจใส่และเข้าถึงจิตใจผู้ป่วย คำแนะนำในการปฏิบัติตนระหว่างรักษา และผลการรักษา  สรุปผลการศึกษา งานวิจัยนี้พบว่าเหตุผลและความพึงพอใจในการรักษากระดูกแบบพื้นบ้านในตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด อันดับแรก คือ หมออัธยาศัยดี เป็นกันเอง และความปลอดภัยของการรักษา  Introduction: There are many ancient traditional methods to heal bones or bone disorders, and today the treatment of bone diseases includes both modern and folk medicine. The popularity of folk medicine has led to the study of folk remedies.  Objective: To study and assess patient satisfaction after bone treatments using traditional methods.  Methods: Data was collected from people undergoing treatment for bone diseases or abnormalities at Thakum, in the Mueang Trat district from August - September 2019. Basic data, including the patient’s satisfaction of their traditional treatment, was collected via questionnaire.  Results: 60 subjects were included in this study, with female prevalence of 68.33%. The average ranking for reasons to use a traditional folk method was at a high level of 4.21 (from a score between 1-5), and responses included reputation, confidence in the results of treatment as well dealings with a friendly medical staff. The highest ranking by a patient was 4.58. Patients were happy with the attention they received and knowledge of the doctors regarding treatment and care. Conclusion: The results of this study found the motivation to use and satisfaction of traditional bone treatment at Thakum in Mueang Trat district both friendly and safe.

Downloads

Published

2022-10-25