ประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง

The effectiveness of aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) for muscle pain and tension in patients with myofascial pain syndrome

Authors

  • วรัมพา สุวรรณรัตน์
  • กายแก้ว คชเดช
  • ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์

Keywords:

น้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ , สูตรน้ำมันปถวีธาตุ, ธาตุเจ้าเรือน, ผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ

Abstract

บทนำ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มักก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกาย และความไม่สบายใจ ส่งผลให้ต้องพึ่งการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา และกระทบต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิต  วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในการบรรเทาอาการปวดและตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง (ภาวะที่มีอาการปวดและตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก หลังส่วนบน อาจมีอาการมึนงงและเวียนศีรษะร่วมด้วย) และเพื่อเปรียบ เทียบประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นธาตุเจ้าเรือนกับผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)  วิธีการศึกษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวด และตึงกล้ามเนื้อจากโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือน จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ วาโยธาตุ และเตโชธาตุ จำนวน 10 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) เพื่อทาในเวลาเช้าและเย็น ครั้งละ 1 มิลลิลิตร ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยก่อนและหลัง การรักษาผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความปวดด้วย visual rating scales และได้รับการประเมินความตึงของกล้ามเนื้อด้วยการวัดองศาการเคลื่อนไหว  ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ทาน้ำสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) มีอาการปวดลดลงและมีองศาการ เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างธาตุเจ้าเรือน พบว่าน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดระดับความปวดของผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือนได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนองศาการเคลื่อนไหวพบว่า ไม่แตกต่างกัน สรุป การทาด้วยน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดความปวดกล้ามเนื้อ และตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง โดยผู้ป่วยสามารถใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการปวดด้วยตนเองและช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรักษาพยาบาล Introduction: Illnesses caused by muscle disorders are a common occurrence, and can lead to physical and mental suffering, a dependency on treatments, as well as affect lifestyle and the general quality of life.  Objective: To study the effectiveness of aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) for muscle pain and tension in patients with Myofascial Pain Syndrome, and to compare the effectiveness of the pa-ta-vee oil formulate with the Pa-ta-vee body element (soil element), as well as other body elements including a-po, wa-yo, and te-cho elements (i.e., water, wind and fire elements). Methods: This study was conducted with twenty patients affected with Myofascial Pain Syndrome who had experienced muscle pain and tension, and received treatment at Suwannabhumi Hospital in Roiet Province. The 20 patients were divided into 2 groups of 10 each. The first group of patients had the pa-ta-vee body element treatment. The second group of patients underwent other body element treatments, including the a-po, wa-yo, and te-cho elements. Patients from both groups received the aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) 1.0 ml at a time, 2 times/day (i.e., mornings and evenings) for 4 consecutive weeks. Before and after treatment, all patients were evaluated for muscle pain using visual rating scales, with their muscle tension calculated via degrees of movement using a goniometer. Results: Patients who received the aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) had both a significant reduction in muscle pain and an increased degree of muscle movement (both p < 0.05). When compared with the body elements, the pa-ta-vee oil formulate significantly lowered pain level in the patients having the pa-ta-vee body element, more so than those patients receiving other body elements (p < 0.05). However, the degree of muscle movement was not significantly different between the various body elements. Conclusion: Aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) may relieve muscle pain and tension for patients with Myofascial Pain Syndrome. The patients may apply it topically by themselves to relieve pain and reduce their other medical expenses.

References

กิติยา โกวิทยานนท์, ปนตา เตชทรัพย์อมร. (2553). เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก Myofascial Pain Syndrome ด้วยการนวดไทยกับอัลตร้าซาวด์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 8: 179-90.

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). โรคออฟฟิศซินโดรม. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2559). โรคออฟฟิศซินโดรม. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: http://www.msdbangkok.go.th/healthconner_Office%20syndrome.htm

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552). แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ธราธร อัศว์วัธรวรโชติ และคณะ. (2559) คู่มือเทียบเคียงโรคทางหัตถเวชกรรมไทย แพทย์แผนไทย & แพทย์แผนปัจจุบัน. ชมรมหมอยาไทย.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม. (2554). หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: ศุภวนิชการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติจำนวนผู้ป่วยนอกจำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 21 โรค จากสถานบริการ สาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.2543-2552. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/BaseStat/ tables/00000_ Whole%20Kingdom/out-43-52.xls

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สถิติจำนวนผู้ป่วยในการจำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 75 โรคจากสถานบริการ สาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2543-2552. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/BaseStat

คณะกรรมการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 3. (2563). คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกเขตสุขภาพที่ 3. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2563, เข้าถึงได้จาก: http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20181018140227.pdf

มกร ลิ้มอุดมพร, ผกากรอง ขวัญข้าว, บุญทำ กิจนิยม, ปวัชสรา คัมภีระธัม, นภัสชญา เกษรา, ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์, และคณะ. (2561). ประสิทธิผลการรักษาด้วยวิธีผสมผสานการนวดไทยร่วมกับการใช้ยาแผนปัจจุบันในผู้ป่วยปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีและไม่มีอาการเตือน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 12: 78-87.

ยุทธพงษ์ ศรีมงคล, ไพจิตร์ วราชิต, ปราณี ชวลิตธำรง, บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ, รัดใจ ไพเราะ, จันธิดา อินเทพ, และคณะ. (2550). การเปรียบเทียบสรรพคุณของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงกับไดโคลฟีแนคเป็นยาบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 5: 17-23.

ปรีชา หนูทิม. (2556). การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแคปซูลสหัสธารากับยาเม็ดไดโคลฟีแนคในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก;11: 54-65.

Laupattarakasem P, Wangsrimongkol T, Surarit R, Hahnvajanawong C. (2006). In vitro and in vivo anti-inflammatory potential of Cryptolepis buchanani. Journal of Ethnopharmacolgy. 108: 349-54.

Shalaby S, Magd El-Din M, Abo-Donia SA, Mettwally M, Attia ZA. (2011). Toxicological Impacts of the essential oils from eucalyptus Eucalyptus globules and clove Eugenia caryophyllus on albino rats. Polish Journal of Environmental Studies; 20: 429–34.

วารณี ประดิษฐ์, สิริวดี ชมเดช, กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์. (2557). งานวิจัยสมุนไพรไทยสำหรับการรักษาโรค ข้อเสื่อม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ; 42: 289-302

รังสรรค์ ปัญญาธัญญะ, วันทนา งามวัฒน์, อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์, โอรส ลีลากุลธนิต, จรินทร์ จันทรฉายะ และปราณี ชวลิตธำรง. (2529). การศึกษาความเป็นพิษของไพลในหนู. วารสารศิริราช; 38: 413-16.

Kamatou GP, Vermaak I, Viljoen AM. (2012). Eugenol-from the remote Maluku Islands to the international market place: a review of a remarkable and versatile molecule. Molecules; 17: 6953-81.

คณิต ออตยะกุล, สุมาลี ซื่อธนาพรกุล, ไกรวัชร ธีรเนตร. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเจลพริกและเมทเทิลไซลิซาเลทเพื่อเป็นยาทาเสริมสำหรับการบำบัดอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง. วารสารเวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร; 17: 91-5.

Atawodi SE, Atawodi JC, Pfundstein B, Spiegelhalder B, Bartsch H, Owen R. (2011). Assessment of the polyphenol components and in vitro antioxidant properties of Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry. Electronic journal of environmental, Agricultural and food chemistry; 10: 1970-1978.

พัชรี สุนทรพะลิน และศศิธร วสุวัต. (1985). การใช้ครีมผักบุ้งทะเลรักษาผิวหนังอักเสบที่เกิดจากแมงกะพรุน. สารศิริราช; 37: 329-38.

กัลยา ปานงูเหลือม และวิชัย อึงพินิจพงศ์. (2561). ความน่าเชื่อถือและความตรงของเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหวคอ “WE-CAP”. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด; 30: 237- 43.

การประเมินระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2552.

Downloads

Published

2022-10-25