ปัจจัยความสำเร็จและความท้าทายในการพัฒนากิจกรรมการเรียนร่วมสหสาขาวิชาชีพของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเครือข่าย

Key success factors and challenges in implementing interprofessional education at The Chao Phya Abhaibhubejhr Medical Education Center Network

Authors

  • รัชฎา สหะวรกุลศักดิ์
  • ศิรินาถ ตงศิริ
  • หทัยชนก ประดิษฐ์ผล

Keywords:

ปัจจัยความสำเร็จ , ความท้าทาย , กิจกรรมการเรียนร่วมสหสาขาวิชาชีพ, Interprofessional practice, IPP

Abstract

บริบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เริ่มนำกิจกรรมการเรียนร่วมสหสาขาวิชาชีพ (Interprofessional Education: IPE) มาใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2560 โดยร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาต่าง ๆ วัตถุประสงค์ ค้นหาปัจจัยความสำเร็จ และความท้าทายในการดำเนินงานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนร่วมสหสาขาวิชาชีพ (IPE) ตามแนวคิดการประเมินความพร้อมของหน่วยงาน (Readiness) เป้าหมายและความ ต้องการการสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แผนการดำเนินงานในปีต่อไป และความรู้สึกของอาจารย์ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม IPE ของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเครือข่ายสถาบันการศึกษา และวางแผนพัฒนารูปแบบและการสนับสนุนการดำเนินงาน IPE ต่อไป  วิธีการศึกษา จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม เพื่อรวบรวมประเด็นต่างๆ ตามวัตถุประสงค์  ผลการศึกษา ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเครือข่ายได้ร่วมมือและประสานงานการจัดกิจกรรม IPE อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีปัจจัยความสำเร็จคือมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีแรงจูงใจที่ดีสำหรับประเด็นการพัฒนาเพื่อความพร้อมของการจัดกิจกรรม IPE ด้านที่มากที่สุดคือ ความสามารถทั่วไป (general capacity) รองลงมาคือ ความสามารถเฉพาะ (innovationspecific capacity) การจัดกิจกรรม IPE ควรดำเนินการ โดยเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตและนักศึกษาที่เป็นระบบในรูปแบบทีมสหสาขาวิชาชีพและสามารถผลักดันเข้าสู่กระบวนการ Interprofessional practice (IPP) ในระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยต่อไป  สรุป ปัจจัยความสำเร็จและความท้าทายในการดำเนินงาน IPE ของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเครือข่าย คือ แรงจูงใจที่ดี ดำเนินการโดยเครือข่ายที่เข้มแข็ง และผลักดันให้เกิดกระบวนการ Interprofessional practice (IPP) สถาบันที่ต้องการจัดการเรียนการสอนแบบ IPE สามารถใช้ตัวอย่างการดำเนินงานจากรายงานวิจัยนี้ไปปรับใช้ได้  Context: The Chao Phya Abhaibhubejhr Medical Education Center has facilitated and  institutionalized Interprofessional Education (IPE) with multi-site collaborations since 2017.  Objectives: To analyze key success factors and challenges according to the readiness in the implementation of IPE and identify goals, supporting systems and strategies for planning further development.  Design, Setting and Participants: Focused group discussion and the World Café method were used as platforms to encourage participants to explore feedback on IPE activities.  Main Outcome Measures: Levels of readiness and IPE outcomes, as defined by the World Health Organization (WHO), were framed to explore meanings of IPE within critical factors to pursue IPE among academic health professionals.  Results: Key success factors are motivations, general capacity and innovation-specific capacity of institutions when conducting IPE activities. Network strengthening, institutional support for IPE to be encompassed in the curriculum, have been highlighted. Interprofessional practice (IPP) should be aimed at as a vision and virtue of IPE. Organizations willing to establish IPE strategies can learn from the experiences from this study.  Conclusion: Motivation, strong network and the goal of IPP are identified as critical success factors of the IPE implementation.

References

Kruk M. E., Gage A. D.,Arsenault C, Jordan K.,Leslie H. H., Roder-Dewan S., et al. High-quality health systems in the sustainable development goals era: time for a revolution. The Lancet Global health. 2018; 6: e1196-e252.

Gilbert J. H., Yan J., Hoffman S. J. A WHO report: framework for action on interprofessional education and collaborative practice. Journal of allied health. 2010; 39 Suppl 1 :196-7.

Buring S. M., Bhushan A., Broeseker A., Conway S., Duncan-Hewitt W., Hansen L., et al. Interprofessional education: definitions, student competencies, and guidelines for implementation. American journal of pharmaceutical education. 2009; 73 :59.

Busari J. O., Moll F. M, Duits A. J. Understanding the impact of interprofessional collaboration on the quality of care: a case report from a small-scale resource limited health care environment. J Multidiscip Healthc. 2017;10: 227-34.

WHO. Framework for action on Interprofessional Education & Collaborative Practice. Geneva, Switzerland: World Health Organization 2010.

ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, ศิรินาถ ตงศิริ, ธนพงศ์ ภูผาลี, วิราวรรณ์ คำหวาน, อุมาภรณ์ บุพไชย, สุนทรี ถูกจิตต, และคณะ. การจัดการเรียนการสอนร่วมสหวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่บ้าน: ความร่วมมือระหว่าง 6 คณะแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์สัตวแพทยศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2562.

Zechariah S., Ansa B.E., Johnson S. W., Gates A. M., Leo G.D. Interprofessional Education and Collaboration in Healthcare: An Exploratory Study of the Perspectives of Medical Students in the United States. Healthcare (Basel). 2019; 7: 117.

Lestari E., Stalmeijer R.E., Widyandana D., Scherpbier A. Understanding attitude of health care professional teachers toward interprofessional health care collaboration and education in a Southeast Asian country. J Multidiscip Healthc. 2018; 11: 557-71.

Sunguya B. F., Hinthong W., Jimba M.,Yasuoka J. Interprofessional education for whom? --challenges and lessons learned from its implementation in developed countries and their application to developing countries: a systematic review. PloS one. 2014; 9: e96724.

Bridges .D.R., Davidson R. A., Odegard P.S., Maki I.V., Tomkowiak J. Interprofessional collaboration: three best practice models of interprofessional education. Med Educ Online. 2011; 16: 10.3402/meo.v16i0.6035.

Flaspohler P., Duffy J., Wandersman A., Stillman L.,Maras M. A. Unpacking prevention capacity: an intersection of research-to-practice models and community-centered models. American journal of community psychology. 2008; 41: 182-96.

Scaccia J.P., Cook B. S.,Lamont A., Wandersman A., Castellow J., JKatz J., et al. A practical implementation science heuristic for organizational readiness: R = MC2. J Community Psychol. 2015; 43: 484-501.

ปรัชญา พุมอุทัยวิรัตน์. การจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ. The Journal of Chulabhorn Royal Academy. 2020; 2: 12-28.

สุณี เศรษฐเสถียร. รูปแบบการเรียนแบบสหวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2558 ;25 : 65-70.

Downloads

Published

2022-10-25