การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเท้าแบนและการทรงตัวในผู้หญิงอายุ 18 - 25 ปี

The relationship between balance and flat foot condition in women aged 18 - 25 years

Authors

  • พนิดา ไชยมิ่ง
  • จันทิมา ศรีนวล
  • พรรณทิพย์ เกิดแก้ว
  • พรรณวดี พูลสวัสดิ์
  • สุนทรี พรมศรี
  • อรวรรณ ต้นจำปา
  • อิชยา โตแทน
  • ทิพย์สุดา บานแย้ม

Keywords:

ภาวะเท้าแบน, การทรงตัว, การศึกษาความสัมพันธ์, ผู้หญิงอายุ 18 - 25 ปี

Abstract

บริบท เท้าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย เพราะมีหน้าที่รับน้ำหนักร่างกายทั้งหมดขณะยืน เดิน หรือวิ่งซึ่งการลงน้ำหนักที่เท้าเป็นระยะเวลานานๆ ซ้ำๆ เป็นประจำ อาจส่งผลให้เกิดอุ้งเท้าบริเวณฝ่าเท้าลดลงหรือเกิดภาวะเท้าแบน และส่งผลให้การกระจายน้ำหนักบนฝ่าเท้าเปลี่ยนแปลงไป  วัตถุประสงค์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเท้าแบนในระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ต่อการทรงตัวขณะอยู่นิ่ง (static balance) และการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว (dynamic balance) ในผู้หญิงอายุ 18 – 25 ปี  วิธีการศึกษา พิมพ์เท้าผู้หญิงอายุ 18 – 25 ปี จำนวน 50 คน เพื่อแบ่งกลุ่มเป็นผู้ที่มีภาวะเท้าแบนในระดับที่ 1 และระดับที่ 2 หลังจากนั้นทดสอบการทรงตัวขณะอยู่นิ่ง one leg standing (OLS) และขณะเคลื่อนไหวด้วย multiple directional reach test (MRT) โดยใช้สถิติ Pearson correlation หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเท้าแบนและการทรงตัว  ผลการศึกษา เท้าแบนในระดับที่ 1 มีความสัมพันธ์ทางลบกับการทรงตัวขณะอยู่นิ่งในระดับมาก (r =  -0.916; p < 0.05); MRT lateral right และ MRT (lateral left มีความสัมพันธ์ทางลบระดับน้อย (r = -0.220,  r = -0.259; p < 0.05 ตามลำดับ ในขณะที่ MRT forward right, MRT forward left, MRT backward right และ MRT backward left ไม่มีความสัมพันธ์ (r = -0.057, r = -0.046, r = -0.057 และ r = -0.020; p > 0.05 ตามลำดับ สำหรับเท้าแบนในระดับที่ 2 มีความสัมพันธ์ทางลบกับการทรงตัวขณะอยู่นิ่งในระดับในระดับมาก (r = -0.931; p < 0.05); MRT lateral right และ MRT lateral left มีความสัมพันธ์ทางลบระดับน้อย (r = -0.225, r = -0.453; p < 0.05 ตามลำดับ ในขณะที่ MRT forward right และ MRT forward left, MRT backward right และ MRT backward left ไม่มีความสัมพันธ์ (r = - 0.106, r = -0.124, r = -0.026 และ r = -0.151; p > 0.05 ตามลำดับ  สรุป เท้าแบนในระดับที่ 1 และเท้าแบนในระดับที่ 2 มีความสัมพันธ์กับการทรงตัวขณะอยู่นิ่งไปในทางลบอย่างมาก และมีความสัมพันธ์กับการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวไปในทางลบกับทิศทางด้านข้างเล็กน้อย สำหรับการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวไปในทิศทางอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์  Context: Feet are important parts of the body as they support functions such as standing, walking and running, all while under the weight of the body. Repeated and prolonged periods of bearing weight on the feet may result in a reduced height of the foot’s arch, leading to changes in (or causes of) a flattened distribution of weight on the feet.  Objectives: To study the connection between flat foot conditions (stages I and II) with that of both static standing balance and dynamic standing balance – specific to women aged 18 – 25 years.  Materials and Methods: Footprints of 50 women with flat foot condition (aged 18-25) were categorized into either stage 1 or stage 2. Each group had their static balance checked with a one leg standing test (OLS), as well as their dynamic balance examined with a multiple directional reach test (MRT). Pearson Correlation statistics were applied to the results to find  the relationship between the flat foot condition and the patient’s sense of balance.  Result: This study found that the stage I group showed a high negative correlation between OLS (r = -0.916; p < 0.05), MRT (Lateral Right) and MRT (Lateral Left) having low negative correlation (r = -0.220, r = -0.259; p < 0.05 respectively). MRT (Forward Right), MRT (Forward Left), MRT (Backward Right), and MRT (Backward Left) had no correlation (r = -0.057, r = -0.046, r = -0.057, and r = -0.020; p > 0.05 respectively). The stage II group revealed a high negative correlation between OLS (r = -0.931; p < 0.05), MRT (Lateral Right) and MRT (Lateral Left) having low negative correlation (r = -0.225, r = -0.453; p < 0.05 respectively). MRT (Forward Right), MRT (Forward Left), MRT (Backward Right), and MRT (Backward Left) again had no correlation (r= -0.106, r= -0.124, r= -0.026 and r= -0.151; p > 0.05 respectively).  Conclusions: Stage I flat foot and stage II flat foot showed a high negative correlation with static balance, but a low negative correlation in the lateral direction in dynamic balance, with no correlation to the other directions.

References

Chougala A, Phanse V, Khanna E, & Panda S. Screening of body mass index and functional flatfoot in adult: an observational study. Int J Physiother Res.2015; 3: 37-41. https://doi.org/10.16965/ijpr.2015.133

ไชยยงค์ จรเกตุ, จุฑาลักษณ์ กองสุข, สุภัสสร วรรณอ่อน, สุธาสินี คณฑา, และเสาวลักษณ์ สังข์ภาษี. การเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมการทรงตัวขณะยืนนิ่งและขณะเคลื่อนไหวในเพศชายที่มีฝ่าเท้าแบนและฝ่าเท้าปกติอายุระหว่าง 18-25 ปี. วารสารกายภาพบำบัด. 2557; 36: 79-88.

พิมลพรรณ ทวีการ และคุณาวุฒิ วรรณจักร. เท้าแบนกับอาการปวดเข่า. บูรพาเวชสาร. 2561; 5: 104-12.

ปรัชญาพร เปรมกมล, ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา, และจักรกริช กล้าผจญ. การศึกษาเปรียบเทียบวิธีตรวจลักษณะอุ้งเท้าระหว่างภาพถ่ายจาก podoscope และภาพพิมพ์รอยเท้าในผู้ที่มีเท้าปกติและเท้าแบน. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2553; 20: 10-4.

มหัครพร พลเยี่ยม. ความเชื่อถือได้ภายในตัวผู้ทดสอบและระหว่างผู้ทดสอบของการประเมินลักษณะฝ่าเท้าจากภาพถ่ายรอยเท้าที่ได้จากเครื่องโพโดสโคปในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารกายภาพบำบัด. 2556; 35: 120-6.

Lee MS, Vanore JV, Thomas JL, Catanzariti AR, Kogler G, Kravitz SR, et al. Diagnosis and Treatment of Adult Flatfoot. The journal of foot & ankle surgery. 2005; 44: 79-109. https://doi.org/10.1053/j.jfas.2004.12.001

ทรงพจน์ ตันประเสริฐ, อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์, และเสก อักษรานุเคราะห์. การศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มบิดข้อเท้าเข้าและกลุ่มบิดข้อเท้าออกในคนที่มีเท้าแบนและคนที่มีเท้าปกติในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2542; 9, 13-7.

Kulig K, Reischl SF, Pomrantz AB, Burnfield JM, Mais-Requejo S, Thordarson DB, et al. Nonsurgical management of posterior tibial tendon dysfunction with orthoses and resistive exercise: a randomized controlled trial. Phys Ther. 2009; 89: 26-37.

ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. มหากายวิภาคศาสตร์การเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: พี.บี. ฟอเรนบุ๊คส์ เซนเตอร์; 2547. หน้า 188-300.

ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. ระบบการเคลื่อนไหว (LOCOMOTIVE SYSTEM). เชียงใหม่: ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557. หน้า 285-321.

สุมิตตา ชัยบุญเมือง, จีราภา สุดเอื้อม, สาทินี สุพิมพ์, วารุณี คงผล, ชลลดา นาเวศน์, รัศมี ศรีสัตยเสถียร, และสุภรัศมิ์ เงินสุทธิวรกุล. ความสัมพันธ์ของ Navicular drop , calcaneal angle กับมุม Q-angle ในวัยรุ่นหญิงไทยอายุระหว่าง 18-25 ปี [ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2554.

Murley GS, Landorf KB, Meanz HB. A protocal for classifying normal and flat-arched foot posture for research studies using clinical and radiographic measurements. J Foot Ankle Res. 2009; 2: 22.

สมนึก กุลสถิตพร. กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท เพรส; 2549. หน้า 149-179.

Tsai LC, Yu B, Mercer VS, Gross MT. Comparison of different structural foot types for measures of standing postural control. J Orthop Sports Phys Ther. 2006; 36: 942–53.

Tachdjian MO. The foot and ankle. In: Clinical pediatric orthopedics: the art of diagnosis and principles of management, Stamford: Appleton-Lange. 1997; 24-35.

สุจิตรา บุญหยง. ผลของการเสริมอุ้งเท้าด้านในต่อรูปแบบการกระจายของแรงใต้ฝ่าเท้าในเท้าแบนที่ปรับตัวได้และไม่มีอาการ [ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2545.

นลัท อุตสาหฉันท์, สุจญดา กิ่งหมัน, กฤติยา ทรงศรี, และณัชชา อิศรางกูร ณ อยุธยา. การเปรียบเทียบภาวะเท้าแบนและเท้าปกติในการทรงท่าแบบอยู่นิ่งและเคลื่อนไหว. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563; 15: 36-48.

Downloads

Published

2022-10-25