ผลการสอนสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก

Video education for cataract surgery patients implementing post-operative self-care

Authors

  • อังคนา อัศวบุญญาเดช
  • ดุจดาว ศุภจิตกุลชัย
  • วริศนันท์ ปุรณะวิทย์

Keywords:

โรคต้อกระจก, สื่อวีดิทัศน์, การปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก, การสอนสุขศึกษา, Cataract, Video supplementation, Post-operative care, Health education

Abstract

บริบท โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้การมองเห็นแย่ลง มักพบในคนสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เป็นภาวะโรคที่พบมาก ทำให้โรคต้อกระจกเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการในผู้สูงอายุ การรักษาต้อกระจกยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาหรือป้องกันได้ นอกจากการผ่าตัดต้อกระจก หลังการผ่าตัด ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ สำหรับการดูแลตนเอง เพื่อช่วยส่งเสริมให้รอยแผลหลังการผ่าตัดสมานหายสนิท ดังนั้นการดูแลหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสอนสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก และความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกและได้รับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2563รวม 35 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่างและได้รับการสอนสุขศึกษาด้วยสื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก โดยทำแบบทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) วีดิทัศน์ ที่ได้ผ่านการพิจารณาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคต้อกระจกและความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก และแบบวัดความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับหรือมากกว่า 0.6 ขึ้นไปทุกข้อค่าดัชนีความสอดคล้องทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.76 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยนำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชากรในการศึกษา ทำการประเมินหาค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์ริชาร์คสัน ได้ค่า เท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Wilcoxon Signed Ranks test) ผลการศึกษา สื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก สามารถสื่อความรู้ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเพิ่มขึ้น ผลความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกภายหลังชมสื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคต้อกระจก และความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกหลังชมสื่อวีดิทัศน์มีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป ผลจากการวิจัยนี้ หน่วยงานสามารถนำสื่อวีดิทัศน์ใช้ในการสอนสุขศึกษากับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้ หากปฏิบัติตัวได้ไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยเข้าถึงสื่อได้โดยง่ายจาก QR code ทำให้สามารถทบทวนความรู้และดูแลการปฏิบัติตัวต่อเนื่องที่บ้านได้ด้วยตนเอง  Context: A cataract is a condition in which the lens of the cornea is cloudy. Most common in older people is a worsening of vision, making cataracts a major cause of disability for the elderly. No drug can cure or prevent cataracts – surgery is the only treatment. After surgery, post-operative care is essential for cataract patients. Patients have to self-care for at least 6 weeks to heal post-operative wounds. Objective: To study the effectiveness of health education video media for cataract surgery patients carrying out post-operative self-care. Methods: Our sample group consisted of 35 patients with cataracts undergoing surgery at Burapha University Hospital from March 1st to July 31st, 2020. The research instruments were video media and questionnaires endorsed by 3 experts. The questionnaires consisted of content on the knowledge of cataracts and post cataract surgery practices, as well as satisfaction measurement forms for the video media. The cataract content questionnaire was validated by 2 experts, and was found that the IOC was equal to or greater than 0.6 for all items, and 0.76 for the questionnaire. The Kuder-Richardson reliability test was 0.78. Data were analyzed by the Wilcoxon Signed Rank test. Results: The study found that video media on self-care for post-operative cataract patients was able to educate and increase understanding in its participants. The mean of knowledge and understanding of cataract post-operative care after watching the video media increased significantly (p < 0.05). Conclusion: The results indicated that the department could use video media to provide health education to patients undergoing cataract surgery. The project participants could apply their knowledge to reduce the risk of complications after cataract surgery, which could cause permanent vision loss if not performed correctly. The video media can be easily accessed from a QR code, making it possible to carry out continuous practice at home.

References

กิติกุล ลีละวงศ์. แนวคิดด้านจักษุสาธารณสุข. วารสารจักษุสาธารณสุข. 2552; 22: 50-5.

รังสรรค์ คีละลาย, ประเสริฐ์ ประสมรักษ์. ผลของรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในชุมชนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนากอก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5: 242-58.

กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, ทานตะวัน สลีวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562; 2: 17–30.

อมราภรณ์ ลาภชูรัต. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้ และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561; 32: 1109-12.

อรทัย เส็งกิ่ง, ศุภิกษณา ตันชาว. ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลโดยการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2560; 8: 22-32.

ยุวดี ชาติไทย, นภาพร วาณิชย์กุล, สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. ผลของการให้คำแนะนำผ่านสื่อวีดิทัศน์ และหุ่นสาธิตต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อกระจกของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2559; 36: 159-70.

จิตราภรณ์ ชั่งกริส. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Fipped Classroom เรื่องการตรวจร่างกาย รายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.

ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล, บังอร ปีประทุม, จุไรรัตน์ ภูริบุตร. การรับรู้และความต้องการความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่ค้างคืน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2555; 20: 437-48.

อรุณรัตน์ รอดเชื้อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ). 2555; 28: 25-37.

ผุสดี บรมธนรัตน์. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลและการลดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559; 30: 129-31.

Downloads

Published

2022-10-26